
อายุยาง ดูตรงไหน ?
ตัวเลขบนหน้ายาง ที่เราสังเกตเห็นบนหน้ายาง จะมีอยู่หลายชุด ซึ่งแต่ละชุดจะเป็นตัวเลขที่บอกข้อมูลให้เจ้าของรถเพื่อเป็นข้อสังเกต อายุยาง ว่าเมื่อไหร่ควรเปลี่ยนยาง อีกทั้งยังมีข้อจำกัดอะไรบ้าง

ชุดแรกจะเป็นตัวเลขที่ปรากฏอยู่บนยางที่บอกถึงอายุของยางรถยนต์ สามารถดูได้ที่ตัวเลขสี่หลักที่ประทับบนแก้มยาง โดยเลขสองตัวแรกบ่งบอกสัปดาห์ที่ผลิต ขณะที่ตัวเลขสองตัวหลังบอกปีทีผลิต
ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่ายางเส้นนี้ผลิตในสัปดาห์ที่ 12 ปี ค.ศ. 2018 การเลือกใช้ยางหลายคนอาจะได้ข้อมูลมาว่าต้องเป็นยางที่เพิ่งผลิตออกมาใหม่ๆ จะดีที่สุด ซึ่งในทางเทคนิคยางที่ดีจะต้องใช้เวลาในการคงตัว (เซตตัว) โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน เพื่อความแข็งแรงในการใช้งาน แต่ผลจากการทดสอบคุณภาพยางจากได้ผลออกมาว่า ยางที่เพิ่งผลิตกับยางที่ผลิตไปแล้ว 1 – 2 ปี คุณภาพไม่แตกต่างกัน ขณะที่อายุใช้งานสูงสุดของยางไม่ควรเกิน 4 – 5 ปี (นับตั้งแต่เริ่มใช้งาน)

ตัวเลขอีกหนึ่งชุดคือตัวเลขที่บอกถึง สัญลักษณ์ความเร็ว, ดัชนีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด, เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อกระทะ, ยางมีโครงสร้างแบบเรเดียล, ความสูงของแก้มยาง (คิดเป็น % ของหน้ายาง), ความกว้างหน้ายาง (มิลลิเมตร)
เมื่อไหร่ควรเปลี่ยนยางรถยนต์
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนยางรถยนต์กันแล้ว มีสัญญาณอะไรบอกบ้าง Autospinn นำเสนอเคล็ดลับ 5 ข้อให้ผู้ขับขี่ได้ตรวจสอบสภาพยางอย่างรวดเร็ว สามารถทำได้อย่างง่าย ๆ
1. ดูที่ตัวบอกสภาพดอกยาง
ยางรถยนต์ส่วนใหญ่มีตัวบอกสภาพดอกยางอยู่บริเวณหน้ายาง ถ้าตัวบอกสภาพดังกล่าวมีความหนาในระดับเดียวกับดอกยาง นั่นหมายความว่าถึงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนยางแล้วเพื่อความปลอดภัย ถ้ายางที่คุณใช้ไม่มีตัวบอกสภาพดอกยาง
อีกหนึ่งเคล็ดลับคือการใช้ไม้ขีดไฟทิ่มลงไปในร่องยาง ถ้าคุณเห็นหัวไม้ขีดสีแดง หมายถึงดอกยางเหลือน้อยเกินไปที่จะใช้งานได้ต่อไป ควรเปลี่ยนยาง

2. แก้มยางแตกหรือแยกส่วน
ถึงแม้ว่าแก้มยางจะไม่ใช่ส่วนที่สัมผัสพื้นถนนโดยตรงเหมือนหน้ายาง แต่ถ้าแก้มยางมีรอยแตกอาจนำไปสู่ยางระเบิดหรือแตกขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูงได้

3. ยางบวม
ยางบวมเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่อันตรายอย่างมาก การบวมของยางส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณแก้มยาง สาเหตุหลักมาจากการขับตกหลุมหรือเสียดสีอย่างรุนแรง รวมถึงข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตซึ่งทำให้โครงสร้างยางไม่แข็งแรงในจุดที่เกิดการบวม

4. ตำแหน่งรั่วของยาง
เมื่อยางเกิดรั่ว หลายคนนิยมใช้วิธีปะยางแทนการเปลี่ยนยางทั้งเส้น เพราะประหยัดสตางค์ได้มากกว่า แต่ควรตระหนักว่าการปะยางควรทำในบริเวณที่รอยรั่วมีขนาดไม่เกิน 1 ใน 4 นิ้วและเกิดขึ้นบริเวณหน้ายางเท่านั้น (ตามภาพ) การปะยางไม่ควรทำบริเวณแก้มหรือขอบยางเพราะไม่มีประโยชน์อันใดและอาจเป็นอันตรายต่อไปในอีกไม่ช้า
สำหรับผู้ใช้รถที่ต้องการใช้ยางรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพการใช้งานได้ดี ปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายยี่ห้อ ผู้ใช้รถสามารถเลือกยางที่เหมาะสมกับการใช้งานของรถมากที่สุด ที่สำคัญต้องมีราคาที่สมเหตุสมผล ประหยัดเงินกระเป๋า