เฉลิมชัย รถบ้าน

ที่สุดด้านคุณภาพและบริการ ต้องเฉลิมชัย รถบ้าน
โทร : 096-242-8639 เปิดทำการทุกวัน
110/4 หมู่ 1 ต.หนองยาว อ.เมือง จ.สระบุรี

ข่าวสารยานยนต์

อายุการใช้งานของ ยางรถยนต์ ไม่ควรใช้เกิน 2 ปี จริงหรือไม่

ยางรถยนต์ ถือว่าเป็นชิ้นส่วนสำคัญอันดับต้นๆ หากเราใช้งานไปสักระยะ ยางรถยนต์ ก็จะเริ่มเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ ตามวันและระยะเวลาของการขับขี่ใช้งาน แต่โดยส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินว่า ยางรถยนต์ มีอายุการใช้งานไม่เกิน 2 ปี ขึ้นอยู่กับการขับขี่ของแต่ละบุคคล ซึ่งข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร อายุการใช้งานของยางรถยนต์ไม่ควรเกิน 2 ปี จริงหรือไม่ แล้วถ้าใช้ไปเรื่อยๆ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

หลายคนก็ตั้งคำถามว่า จริงๆ แล้ว ยางรถยนต์ มีอายุการใช้งานกี่ปีกันแน่ ซึ่งความเป็นจริงแล้วอายุการใช้งานของยางรถยนต์ เราสามารถสังเกตได้จาก 3 ข้อดังนี้

  • ความลึกของดอกยาง ต้องมีความลึกประมาณ 8-9 มิลลิเมตร แต่ไม่ควรตำกว่า 3 มิลลิเมตร เพราะดอกยางมีหน้าที่ช่วยรีดน้ำออก เพื่อให้หน้ายางได้สัมผัสกับพื้นถนนได้เป็นอย่างดี
  • ความชำรุดของโครงสร้างยาง เช่น รอยแผลใหญ่ที่เกิดจากถูกของมีคม และโครงสร้างของหน้ายางโดยเฉพาะแก้มยางบอบช้ำที่เกิดจากปีนขอบข้างทางอย่างแรงจนสะเทือนไปถึงกระทะล้อชำรุด หรือถูกบดในขณะที่ขับรถในระยะทางไกลโดยไม่มีลมยาง
  • อายุของยาง นับตั้งแต่วันผลิต ไม่ควรเกิน 6 ปี สำหรับยางรถยนต์ที่มีคุณภาพสูงพอ

cr. www.รถนิยม.com/อายุการใช้งานของ-ยางรถยนต์-ไม่ควรใช้เกิน-2-ปี-จริงหรือไม่-สาระน่ารู้เรื่องรถ/

ดูรถมือสองไม่ให้ถูกย้อมแมว

ถ้าหากเราไม่มีความรู้เรื่องรถมือสอง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือบริษัท หรือเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ ว่ารถยนต์คันดังกล่าวที่เราต้องการซื้อนั้น อยู่ในสภาพพร้อมงานหรือไม่ หรือรถคันนั้นเคยมีอุบัติเหตุชนหนัก น้ำท่วม หรือตัวเครื่องยนต์นั้น ยังคงดีพร้อมใช้งานหรือไม่ ถ้าหากเราไม่มีความชำนาญพอ จึงต้องปรึกษาผู้ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรถยนต์โดยเฉพาะมาตรวจสอบให้

วิธีดูรถมือสอง

ในส่วนของตัวถังรถยนต์นั้น จะต้องไม่มีการชนหนัก อุบัติเหตุ พลิกคว่ำ จนถึงตัวคานรับของตัวรถยนต์ และในส่วนของเครื่องยนต์เครื่องยนต์จะต้องมีการทำงานของระบบเครื่องยนต์เดินเรียบปกติ

อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องจะต้องมีการใช้งานได้ตามปกติ ไม่มีการขาดหรือชำรุด หากอุปกรณ์ภายในห้องเครื่องมีการชำรุดหรือไม่ทำงานตัวใดตัวหนึ่ง จะส่งผลทำให้เครื่องยนต์สามารถสะดุดหรือเกิดความเสียหายในขณะเครื่องยนต์ทำงานอยู่ ทำให้เครื่องพังได้

และที่สำคัญของเหลวภายในเครื่องยนต์จะต้องหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้น้ำในหม้อน้ำ หรือน้ำมันเครื่องขาดไปโดยเด็ดขาด เพราะจะส่งผลโดยตรงกับตัวเครื่องยนต์โดยตรง

หรือสามารถสอบถามวิธีการดูรถได้ที่ https://lin.ee/y7VxUsw

การเปลี่ยนยางรถยนต์ จำเป็นมั้ยต้องเปลี่ยนทั้ง 4 ล้อ

การเปลี่ยนยางรถยนต์ จำเป็นมั้ยต้องเปลี่ยนทั้ง 4 ล้อ

เชื่อว่ามีหลายท่านสงสัยเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการเปลี่ยนล้อ ว่า สามารถเปลี่ยนทีละล้อได้หรือไม่ จะได้ประหยัด หรือจำเป็นต้องเปลี่ยนให้ครบทุกล้อพร้อมๆ กัน มาดูคำตอบกันครับ

การเปลี่ยนยางรถยนต์ ผู้ใช้รถก็จะต้องมองหายางที่มีคุณสมบัติตามต้องการมาเปลี่ยนพร้อมกันทีเดียว ให้ทั้ง 4 ล้อใช้ยางในขนาด, แบรนด์ และ รุ่นเดียวกัน หากมีปัญหาติดขัด งบไม่พอที่จะเปลี่ยนยางพร้อมกันทั้ง 4 เส้น การเปลี่ยนยางรถยนต์ไปก่อน 2 เส้นก็เป็นสิ่งที่พึงนิยมทำได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะเอายางคู่ใหม่ที่ได้มาไปใส่ที่ล้อหน้าก่อน เพราะว่าล้อหน้าเป็นคู่ที่ทำงานหนักกว่า 2 ล้อหลังนั่นเอง

นั่นเพราะ ยางรถยนต์ที่ใส่อยู่กับล้อหน้า มีอัตราการเสื่อมสภาพสูงกว่าล้อหลัง เนื่องจาก ล้อหน้า จะเป็นล้อที่ทั้ง เลี้ยว, ขับเคลื่อน, เผชิญกับสภาพถนนที่เป็นหลุมบ่อก่อนล้อหลังเสมอ แถมยังต้องแบกรับน้ำหนักของเครื่องยนต์เอาไว้ด้วย ดังนั้น หลักการทั่วไปจึงควรเอายางใหม่ ไปใช้กับล้อคู่หน้าก่อน

ขณะเดียวกัน หากมีกรณีที่อาจจะนำมาซึ่งคำถามว่า จะทำการเปลี่ยนยางแค่เส้นเดียวได้หรือไม่ อย่างเช่นเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย ยางเส้นใดเส้นหนึ่ง โดนตะปูตำ หรือว่า ยางรั่ว สามารถซ่อมโดยการปะยางโดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ ยกเว้นเป็นรอยฉีกขาดขนาดใหญ่เกินไป หรือการเสียหายบริเวณของแก้มยาง ซึ่งหากนำมาใช้งานต่อก็จะส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ครับ

สรุป คือ การเปลี่ยนยางรถยนต์ ควรเปลี่ยนพร้อมกันทั้ง 4 ล้อจึงจะดีที่สุดครับ เพราะจะได้นับอายุยางรถยนต์ได้เท่ากัน และยางแต่ละเส้นจะมีอายุการใช้งานเท่ากันด้วย ที่สำคัญดอกยางยังเต็มกว่า และหากยางที่ใส่อยู่กับล้อที่คู่กัน มีสภาพความสมบูรณ์แตกต่างกันมากไป ก็อาจจะส่งผลต่อการใช้งานไม่มากก็น้อยได้ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่และผู้ใช้รถใช้ถนนควรหมั่นสังเกต และใส่ใจสภาพดอกยางของล้อทั้ง 4 สม่ำเสมอ

credit : https://www.valvoline.co.th/information/tips/202124.php

จอดรถตากแดดเป็นเวลานานมีผลเสียอย่างไร อันตรายหรือไม่ ?

หากจำเป็นต้องจอดรถตากแดดทุกวันจะมีผลเสียอย่างไรกับรถยนต์ อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนไหนจะได้รับอันตรายและจะมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง

ทุกวันนี้แสงแดดในประเทศไทยนั้นร้อนระอุจนทำให้หลายคนหลีกเลี่ยงที่จะอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อย่างเรานั่นก็คือรถยนต์ ด้วยปริมาณรถที่มากขึ้นสวนทางกับที่จอดรถในร่มมีไม่เพียงพอ ก็จำเป็นต้องจอดรถกลางแดดอันร้อนระอุ แต่รู้หรือไม่ว่ารถจอดตากแดดทุกวันอาจไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก การจอดรถตากแดดนาน ๆ อาจทำให้อะไหล่รถบางชิ้นเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ วันนี้เราจะพามาดูว่าส่วนไหนของรถบ้างที่มีโอกาสพังเร็วเมื่อโดนแดดนาน ๆ

การจอดรถตากแดด ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

          ด้วยความร้อนจากแสงแดดในปัจจุบันที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางวันอยู่ที่ 36-40 องศาเซลเซียส การจอดรถตากแดดย่อมทำให้รถยนต์มีอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในรถที่ปิดสนิท เพราะความร้อนจะถูกสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่ตัวรถก่อนถ่ายเทเข้าสู่ห้องโดยสารที่เป็นพื้นที่ปิด โอกาสที่จะเกิดความเสียหายภายในห้องโดยสารก็มีมากขึ้น แม้จะไม่เกิดในทันทีแต่ก็เป็นการลดอายุการใช้งานของอะไหล่ต่าง ๆ ให้มีอายุสั้นลงกว่าปกติ

1. สีรถยนต์

          จุดแรกที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ขับรถออกจากบ้าน ยิ่งถ้าต้องจอดรถไว้กลางแจ้งเป็นเวลานาน รังสียูวีอาจทำให้แว็กซ์หรือสารเคมีที่ใช้ในการเคลือบสีรถให้ดูเงางามเสื่อมคุณภาพลง ส่งผลให้สีรถไม่เงางาม ดูหมองลง

2. ยางรถยนต์

          แม้จะเป็นการจอดรถอยู่เฉย ๆ แต่การที่ยางรถยนต์ต้องอยู่กลางแจ้ง ทนต่อความร้อนเป็นระยะเวลานาน ๆ ย่อมส่งผลให้ยางเสื่อมคุณภาพได้เร็วขึ้น ไม่ต่างจากการขับรถในเวลาปกติเลย

3. ฟิล์มกรองแสง

          อีกสิ่งหนึ่งที่น่าจะต้องรองรับกับแสงอาทิตย์โดยตรง แม้ฟิล์มกรองแสงจะมีหน้าที่ป้องกันความร้อนจากแสงแดดและรังสียูวี แต่การที่ฟิล์มต้องเจอกับความร้อนในทุก ๆ วันเป็นเวลานานก็อาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลงกว่าปกติ

4. ห้องโดยสาร

          บางคนอาจบอกว่าการจอดรถตากแดดเป็นการฆ่าเชื้อแบคทีเรียภายในห้องโดยสารไปในตัว แต่วิธีนี้ส่วนใหญ่จะมีการเปิดประตูรถเพื่อระบายความร้อน แต่การจอดรถตากแดดเป็นเวลานานโดยที่ทุกอย่างปิดสนิท จะทำให้เกิดความร้อนสะสมภายในห้องโดยสาร ส่งผลให้วัสดุต่าง ๆ ที่เป็นหนัง ยางหรือพลาสติก เสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น

5. เครื่องยนต์

          ทุกครั้งที่สตาร์ตเครื่องและขับรถ เครื่องยนต์จะต้องเจอกับสภาวะอุณหภูมิที่สูงอยู่แล้ว แต่การจอดรถตากแดดเป็นเวลานาน เครื่องยนต์จะได้รับผลกระทบที่แตกต่างออกไป น้ำมันเครื่องอาจเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติจนเกิดอาการบวม และระบบปรับอากาศที่ต้องทำงานหนักเพื่อระบายความร้อน

          นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ต้องพึงระวังเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องจอดรถกลางแดดก็คือ อุปกรณ์หรือสิ่งของบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดประกายไฟได้หากอยู่ในที่ที่มีความร้อนเป็นเวลานาน เช่น ไฟแช็ก, แบตฯ สำรอง, โทรศัพท์มือถือ, ขวดสเปร์ย และขวดน้ำพลาสติก

เมื่อต้องจอดรถตากแดดควรทำอย่างไร

          หากคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการนำรถจอดตากแดดทุกวันได้ ลองมาดูเคล็ดลับที่อาจทำให้รถยนต์ของคุณเกิดความเสียหายจากรังสียูวีและแสงแดดได้น้อยลง

1. ใช้ม่านบังแดด

          หากไม่สามารถหาที่จอดรถร่ม ๆ ได้ และจำเป็นต้องจอดรถตากแดด ม่านบังแดดเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่คุณควรนำมาใช้ ถึงแม้จะไม่ได้ปกป้องรถภายนอกได้ แต่ม่านบังแดดสามารถลดอุณหภูมิภายในห้องโดยสารไม่ให้สูงเกินไปได้ ทั้งยังช่วยปกป้องวัสดุและอุปกรณต่าง ๆ ภายในห้องโดยสารได้ในระดับหนึ่ง

2. หุ้มเบาะที่นั่ง

          เบาะรถยนต์ส่วนใหญ่ทำจากหนังหรือวัสดุพีวีซี ที่เมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์หรืออุณหภูมิภายในรถที่สูงขึ้นย่อมทำให้มีคุณภาพที่เสื่อมลง มีสีที่ซีดจาง และเกิดการแตกลายงาได้ การหุ้มเบาะจึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของเบาะรถยนต์

3. ผ้าคลุมรถ

          หากคุณเป็นคนรักรถที่จำเป็นต้องจอดรถตากแดดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในทุก ๆ วัน ขอเพียงแค่มีเวลาสักนิด หลังจากจอดรถเสร็จใช้ผ้าคลุมรถของคุณก็จะช่วยป้องกันรังสียูวีและแสงแดดได้ เพราะผ้าคลุมรถส่วนใหญ่จะมีการเคลือบสารสะท้อนแสงมาแล้วนั่นเอง

4. เคลือบ แว็กซ์สีรถ

          วิธีนี้ไม่ได้ปกป้องสีรถจากแสงแดดได้ 100% แต่ก็ดีกว่าการที่ไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะการลงแว็กซ์หรือเคลือบสีรถจะช่วยปกป้องรถยนต์จากรังสียูวีได้ในระดับหนึ่ง แต่คุณจะต้องหมั่นลงแว็กซ์เป็นประจำเพื่อให้การปกป้องนี้คงประสิทธิภาพไว้ได้อย่างต่อเนื่อง

5. ติดฟิล์มที่ตัวรถยนต์

          การติดฟิล์มที่ตัวรถหรือเรียกอีกอย่างว่าการ Wrap รถ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเช่นกัน นอกจากจะช่วยป้องกันริ้วรอย หรือเศษหินที่อาจกระเด็นมาโดนแล้ว การ Wrap รถ ยังช่วยถนอมสีของรถ มีให้เลือกทั้งแบบสีต่าง ๆ และแบบใส สามารถลอกออกได้เมื่อไม่ต้องการใช้งานแล้ว ในส่วนของราคาอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดของรถยนต์

6. ติดฟิล์มกรองแสงที่มีความเข้มข้นสูง

          อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการลดความร้อนภายในห้องโดยสารหากต้องจอดรถตากแดดเป็นเวลานาน คือการเลือกติดฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพสูง และมีความเข้มข้นของฟิล์มที่มาก โดยทั่วไปรถที่ออกมาจากศูนย์บริการจะติดฟิล์มกรองแสงที่มีระดับความเข้มประมาณ 40-60% เท่านั้น เราสามารถเพิ่มระดับความเข้มของฟิล์มกรองแสงเป็น 60-80% ได้เช่นกัน แต่ควรเลือกประเภทของฟิล์มที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน และฟิล์มที่มีส่วนผสมของสารปรอทตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย

7. มองหาที่ร่มไว้ก่อน

          แม้จะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่ในการปฏิบัตินั้นถือว่ายาก เพราะการหาที่จอดรถกลางแจ้งที่มีร่มเงาของสภาพแวดล้อมโดยรอบอย่างเช่น ตึก หรือต้นไม้นั้น ถือเป็นขุมทรัพย์อย่างหนึ่งที่คนรักรถทุกคนต่างต้องการในสิ่งเดียวกัน ฉะนั้นถ้าคุณมีโอกาส หรือมีเวลาวนรถหาที่จอดร่ม ๆ ก็ควรทำมันเป็นลำดับแรกเลย เพราะที่จอดร่ม ๆ จะช่วยปกป้องรถของคุณจากแสงแดดได้ดีที่สุดนั่นเอง

          อย่างไรก็ตาม จากวิธีการทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงวิธีแก้ปัญหาในเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องจอดรถตากแดดทุกวัน จอดรถตากแดดนาน ๆ เท่านั้น
ใครที่สะดวกหรือสนใจในวิธีการไหนก็ลองไปทำกันดูได้ตามความเหมาะสม แต่ถึงยังไงวิธีการที่ดีที่สุดที่ช่วยปกป้องรถยนต์ที่เรารักจากแสงแดดและรังสียูวีก็คือการจอดรถในที่ร่มนั่นเอง

credit : https://car.kapook.com/view242391.html

วิธีขับรถส่วนตัวไปรักษาโควิด พาผู้ติดเชื้อโควิดส่งโรงพยาบาลอย่างไรให้ปลอดภัย

วิธีขับรถส่วนตัวไปรักษาโควิด หรือพาผู้ติดเชื้อโควิด ไปหาหมอ รับการรักษาที่โรงพยาบาล มีหลักปฏิบัติอย่างไร ให้ปลอดภัย ไม่เพิ่มโอกาสในการแพร่เชื้อ COVID 19 สู่ผู้อื่น 

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด 19 กลับมารุนแรงอีกครั้ง โดยครั้งนี้ถือว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส COVID 19 เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้รถพยาบาลที่ใช้ในการรับ-ส่งผู้ป่วยไม่สามารถให้บริการได้แบบทันท่วงที ซึ่งผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวที่ติดเชื้อและมีรถยนต์ส่วนตัวสามารถเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาหรือส่งตัวผู้ป่วยได้ แต่ต้องทำตามขั้นตอนและข้อปฏิบัติวิธีใช้ รถยนต์ ตามที่มีการประกาศ

ทั้งนี้ สำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร ได้ออกคำแนะนำวิธีการเดินทางไปรับการรักษาสำหรับผู้ติดเชื้อ COVID-19 โดยรถยนต์ส่วนตัว หากผู้ติดเชื้อประสงค์จะเดินทางไปรับการรักษาโดยรถยนต์ส่วนตัวให้แจ้งไปยังสายด่วน 1669 ศูนย์เอราวัณ กทม. ก่อน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และควรเตรียมเอกสารผล LAB ยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 ให้พร้อม และหากมีผู้ขับรถให้ แนะนำผู้ติดเชื้อและผู้ที่ขับรถปฏิบัติดังนี้

ภาพจาก สำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร

  • ให้มีฉากกั้นระหว่างคนขับและผู้ติดเชื้อเพื่อให้มีระยะห่างระหว่างกันมากที่สุด
  • ใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น ทั้งคนขับและผู้ติดเชื้อ
  • เปิดกระจกและปิดเครื่องปรับอากาศ
  • คนขับและผู้ติดเชื้อให้นั่งทแยงมุมคนละฝั่ง
  • สำรวจเส้นทางก่อนออกเดินทาง โดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางไม่ควรเกิน 30 นาที

เมื่อเดินทางไปถึงยังจุดที่กำหนดให้นั่งรออยู่ภายในรถ จากนั้นให้โทรศัพท์ประสานงานเจ้าหน้าที่เพื่อเข้ารับการรักษาตามช่องทางของโรงพยาบาลต่อไป ส่วนผู้ติดเชื้อโควิด 19 หรือผู้ที่มีญาติพี่น้องติดเชื้อและต้องการประสานรถพยาบาลไปรับผู้ป่วยจากที่พัก สามารถติดต่อได้ที่สายด่วน 1669 ศูนย์เอราวัณ กทม.

สำหรับการเดินทางสัญจรในช่วงการระบาดของ โควิด 19 ทั้งโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือรถสาธารณะ มีหลักปฏิบัติเพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อการติดเชื้อ คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ขอบคุณข้อมูลจาก prbangkok.com

credit : https://car.kapook.com/view240729.html

รู้หรือไม่? การเหยียบเบรกบ่อยๆ เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องและมีข้อเสียตามมาอีกมากมาย ‼

รู้หรือไม่? การเหยียบเบรกบ่อยๆ เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องและมีข้อเสียตามมาอีกมากมาย

หยุด! พฤติกรรมการขับขี่ เดี๋ยวเร่ง เดี๋ยวเบรก คุณรู้หรือไม่ว่าการขับๆ เบรกๆ แบบนี้บ่อยๆ มีข้อเสียมากกว่าที่คิด มาดูว่าข้อเสียที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง

การเหยียบเบรกเหยียบคันเร่งบ่อยๆ เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเพราะจะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆของรถยนต์อาจจะสึกหรอเร็วกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นผ้าเบรกที่หมดไวกว่าปกติ บางคนเปลี่ยนผ้าเบรกปีต่อปี ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผ้าเบรกจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 30,000-40,000 กิโลเมตร รวมถึงเครื่องยนต์ระบบส่งกำลังสึกหรอและยังเกิดการสั่งจ่ายน้ำมันไม่นิ่ง เมื่อการจ่ายน้ำมันไม่นิ่งจะทำให้การสั่งจ่ายน้ำมันมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาจะทำให้การสั่งจ่ายน้ำมันไม่นิ่ง เมื่อไม่นิ่งก็จะส่งผลต่ออัตราประหยัดนั่นเอง

นอกจากนี้ พฤติกรรมการเหยียบเบรกบ่อยๆยังส่งผลถึงความปลอดภัย เพราะการที่เหยียบเบรกบ่อยๆจะทำให้รถคันหลังต้องเบรกตามโดยไม่มีความจำเป็น อีกทั้งคันหลังต้องคอยรักษาระยะเพิ่มขึ้นนั่นเท่ากับว่าเขาต้องมารับภาระความเสี่ยงและยังสร้างความรำคาญใจอีกด้วย

credit : https://www.valvoline.co.th/information/tips/202115.php

อาการเกียร์ออโต้ก่อนพัง, พฤติกรรมที่ควรเลี่ยงและแนวทางการบำรุงรักษา?

อาการเกียร์ออโต้ก่อนพัง, พฤติกรรมที่ควรเลี่ยงและแนวทางการบำรุงรักษา?รถคันหนึ่งวิ่งระยะทางหลายพันกิโลเมตรต่อปี เกียร์ที่ทำงานหนักอาจจะมีปัญหาได้ ซึ่งเราอาจจะไม่ทราบถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจบ่งบอกถึงเกียร์ที่กำลังมีปัญหาและพังเสียหายในอนาคตต่อไป

อาการที่บ่งบอกถึงเกียร์ที่มีปัญหา
1) เข้าเกียร์แล้วรถไม่ค่อยอยากจะออกตัว
อาการรถไม่ออกตัว โดยเฉพาะในเกียร์เดินหน้า(D) หรือเกียร์ถอยหลัง(R) อาการนี้มีสาเหตุจากขาดการดูแลบำรุงรักษา โดยเฉพาะรถจอดหรือรถที่ไม่ค่อยได้วิ่ง ทำให้น้ำมันเกียร์มีปริมาณไม่ถูกต้อง เช่น น้อยเกินไปหรือมากเกินไป แก้ไขได้โดยเติมน้ำมันให้ได้ระดับที่ถูกต้อง ก็สามารถที่จะใช้งานได้ตามปกติ
แต่ถ้าอาการนี้ถ้าเกิดขึ้นกับรถที่มีระยะการใช้งานมากกว่า 100,000 กิโลเมตรขึ้นไป และได้รับการดูแลบำรุงรักษาตามปกติ ก็จะเกิดจากการสึกหรอภายในชิ้นส่วนของเกียร์ต่างๆ เช่น ชุดผ้าคลัตช์, ชุดวาล์ว ควบคุมแรงดัน การแก้ไขเป็นเรื่องใหญ่ เพราะต้องยกเกียร์ออกมาผ่า, โอเวอร์ฮอล์เกียร์ (overhaul) หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนเกียร์นั้นๆ หรืออาจรุนแรงถึงขึ้นยกเกียร์ลูกใหม่กันเลยทีเดียว

2) เข้าเกียร์ D หรือ R แล้วกระตุกหรือกระชาก
อาจเกิดจากการออกรถในขณะที่อุณหภูมิของเครื่องยนต์ไม่ถึงเกณฑ์ทำงาน ออกรถในขณะที่เครื่องยังเย็นอยู่ หรือเมื่อใช้งานไปแล้ว (เครื่องร้อนแล้ว) แต่น้ำมันเกียร์ยังไม่ถึงอุณหภูมิที่ถูกต้อง (เกียร์เย็น) หรือน้ำมันเกียร์ร้อนเกินกว่าที่กำหนด การแก้ไขต้องเริ่มที่ตรวจวัดระดับน้ำมันเกียร์ รวมทั้งคุณภาพของน้ำมันเกียร์ ตามด้วยการตรวจเช็คระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์และน้ำมันเกียร์

3) เกียร์เปลี่ยนเร็วหรือช้ากว่าปกติ
อาการนี้เกิดจากการปรับตั้งสายเกียร์ที่ไม่ถูกต้อง (ในรุ่นที่มีสายเกียร์) แก้ไขโดยการปรับตั้งใหม่ ในรุ่นที่ควบคุมระบบไฟฟ้า ให้เคลียร์เมมโมรีของสมองเกียร์ (Transmission Control Module) หรือตรวจสอบวาล์วควบคุมทางเดินน้ำมันด้วยไฟฟ้าว่า มีน้ำมันเกียร์มากหรือน้อยเกินไป รวมทั้งน้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพ แก้ไขด้วยการเติมหรือเดรนส่วนที่เกินออกหรือเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ การอุดตันของทางเดินน้ำมันเกียร์ในสมองเกียร์ (Valve body) แก้ไขด้วยการถอดสมองเกียร์ (โดยช่างที่ชำนาญ) ออกมาล้างทำความสะอาด อาจมีการรั่วซึมภายในระบบเกียร์ของชุดเกียร์ต่างๆ เช่น แหวนกันน้ำมัน ลูกสูบวาล์ว (ลิ้นปิดเปิด ทั้งแบบกลไกหรือแบบไฟฟ้า)

4) เกียร์สุดท้ายไม่มีและหรือไม่มีคิกดาวน์
อาการไม่มีคิกดาวน์ ถ้าเกิดขึ้นหลังจากการซ่อมเกียร์ (ผ่าเกียร์) มักเกิดจากการประกอบผิดพลาด, ชิ้นส่วน แหวนหรือโอริงกันน้ำมันฉีกขาด ใส่กลับทาง ใส่ไม่ครบ แต่ถ้าเกิดจากการใช้งานมานานแล้วยังไม่เคยผ่านการซ่อมมาก่อน อาจจะเกิดจากการรั่วซึมภายใน ก็ต้องผ่าเกียร์ เปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหาย

5) ออกตัว ต้องเร่งเครื่องใช้รอบสูงๆ
อาการนี้เกิดขึ้นแม้ว่าจะวอร์มเครื่องก่อนออกรถแล้วก็ตาม แก้ไขโดยตรวจระดับน้ำมันเกียร์และคุณภาพของน้ำมันเกียร์ ถ้าน้ำมันเกียร์ถูกต้อง มักเกิดจากผ้าคลัตช์ในชุดเกียร์สึกหรอเสื่อมสภาพ แก้ไขโดยการยกเกียร์ผ่าเกียร์ เปลี่ยนชิ้นส่วนที่สึกหรอ

▪️ พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง
– เหยียบคันเร่งแรงๆ บ่อยๆ จะทำให้เกียร์พังได้ไวกว่าที่กำหนด ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนี้
– ใส่เกียร์ว่างขณะรถวิ่ง ถ้าคุณใส่เกียร์ว่างขณะรถกำลังวิ่งอยู่ จะส่งผลให้น้ำมันหล่อลื่นในเกียร์ลดลง จนขาดแรงดัน ทำให้รถเกิดความร้อนสูง และเกียร์พังในที่สุด
– ใช้เกียร์ P ทั้งๆ ที่รถยังไม่นิ่ง การกระทำเช่นนี้จะส่งผลกับระบบเกียร์โดยตรง เพราะชุดเกียร์ทำงานโดยการล็อคตัวเองอัตโนมัติ จนส่งผลทำให้เกียร์พังได้

▪️ แนวทางการบำรุงรักษา
– หมั่นเช็กสภาพเกียร์อยู่สม่ำเสมอ ทั้งนี้เพราะหากเจอสิ่งผิดปกติจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที ไม่ลุกลาม
– เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระเวลาที่กำหนด จะช่วยถนอมเกียร์ให้ใช้งานได้นาน โดยควรเปลี่ยนเมื่อรถวิ่งครบ 40,000 กิโลเมตร
– ไม่เร่งเครื่องแรง เมื่อทำการสตาร์ทรถ เพราะจะทำให้ระบบเกียร์พังได้ง่าย และอาจลุกลามไปถึงระบบเครื่องยนต์เสียหายได้ด้วย
– ไม่เร่งเครื่องแรง ไม่เหยียบคันเร่งหนัก เพราะอาจทำให้เกียร์กระชาย และเกิดความเสียหายได้
ใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานและสภาวะในการขับขี่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการขับขี่

credit : https://www.valvoline.co.th/information/tips/202116.php

เช็คก่อนเดินทาง 7 จุดสำคัญของรถยนต์ ที่ควรตรวจสภาพความฟิตก่อนเดินทางไกล

ทุกๆ หน้าเทศกาลที่มีวันหยุดยาว หลายคนจะใช้จังหวะนี้เดินทางกลับบ้านเกิด หรือเดินทางท่องเที่ยวไปยังจังหวัดต่างๆ ซึ่งถ้ามีรถส่วนตัว ส่วนใหญ่ก็เลือกรถส่วนตัวไปเพื่อความสะดวก

อย่างไรก็ตาม ก่อนเดินทางไกลการตรวจสอบสภาพความฟิตของรถก็เป็นสิ่งสำคัญพอๆ กับการตรวจสอบความฟิตของคนขับ แล้วจุดไหนของรถบ้างที่ต้องเช็คเราจะมาชี้เป้า 7 จุดที่ควรเช็คให้ดีก่อนออกเดินทางไกล จะได้ไม่เหวอเพราะเจอปัญหากินข้าวลิงกลางทาง

เช็คน้ำมันเครื่อง

สิ่งสำคัญของรถยนต์นอกเหนือจากน้ำมันก็คือ ‘น้ำมันเครื่อง’ นี่แหละที่สำคัญ หากขาดน้ำมันเครื่องไปสิ่งที่ตามมาก็คือปัญหาเครื่องยนต์ถึงขั้นพังได้เพราะเครื่องยนต์จะขาดน้ำมันเครื่องไปหล่อลื่นลดแรงเสียดทานในเครื่องยนต์ปัญหาต่างๆ ทั้งลูกสูบติด ฝาสูบโก่ง เครื่องความร้อนขึ้น ชาร์ปละลาย (แผ่นปะกับที่รองระหว่างข้อเหวี่ยงกับก้านสูบ) ทุกปัญหาเกิดจากการขาดน้ำมันเครื่อง ซึ่งความพินาศนั้นระดับยกเครื่องใหม่เลยทีเดียว

การตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องทำได้ไม่ยาก แค่เปิดกระโปรงรถเปิดมองหาตำแหน่งจุดตรวจสอบน้ำมันเครื่อง จะมีก้านพลาสติกให้ตรวจสอบ ดึงออกมาแล้วดูว่าจุดของน้ำมันเครื่องอยู่ในตำแหน่ง L หรือ Low หรือเปล่า ถ้าใช่ก็เติมด่วน อย่ารอจนถึงครบรอบถ่ายน้ำมันเครื่องค่อยเปลี่ยนเลย มันเสี่ยงไป

เช็คระบบหล่อเย็น

อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องตรวจสอบมากที่สุดไม่แพ้เรื่องอื่นก็คือระบบหล่อเย็นในรถที่อยู่ในเครื่องยนต์ เราควรตรวจสอบการทำงานของระบบหล่อเย็นเสมอทุกครั้ง เช็คดูว่าในระบบหล่อเย็นยังทำงานดีอยู่ไหม หรือน้ำในหม้อน้ำยังมีน้ำอยู่ไหม แม้รถรุ่นใหม่หากเข้าศูนย์สม่ำเสมอ ก็ไม่ต้องกังวลเพราะศูนย์จะเติมให้ตลอด

แต่ก็เช็คสักนิดก่อนเดินทางก็ดี ถ้าเกิดเห็นหม้อน้ำมีปริมาณน้ำลดลงมากกว่าปกติ นี่คือสัญญาณที่บอกว่าคุณต้องตรวจสอบก่อนเดินทางไกลอย่างด่วน ไม่อย่างนั้นเครื่องร้อนเกินพังนะ

เช็คยาง

รถไม่มียางก็วิ่งไม่ได้นี่คือสัจธรรม ต่อให้ ‘โดมินิค ทอเร็ตโต้’ มาขับรถที่ไม่มียางก็อย่าหวังว่าจะหนีไปไหนได้ ดังนั้นเราควรตรวจสอบยางด้วยทุกครั้ง ทั้งลมยาง และดอกยาง อย่างแรกสุดตรวจสอบลมยางก่อนว่ามีปริมาณลมตรงกับมาตรฐานที่ควรจะเป็นไหม ซึ่งรถทุกคัน จะมีข้อมูลปริมาณลมยางที่เหมาะสมบอกไว้อยู่

อีกสิ่งหนึ่งคือดอกยาง ไม่ต้องประหยัดมากจนเกินไปเพราะหากดอกยางหมดโอกาสที่รถจะเกาะถนนไม่อยู่มีสูงมาก เสี่ยงที่รถจะเกิดอาการไถล บินไปเลยแม็กนั่มสูงมากๆ (ใครเข้าใจมุกนี้ถือว่าไม่เด็กแล้วนะ) หรือถ้ายางปริจนใกล้จะระเบิดก็ควรเปลี่ยนเถอะ ไม่อย่างนั้นยางระเบิดรถคว่ำ อาจถึงตายนะคุณ

เช็คผ้าเบรค

เบรคคืออีกส่วนที่สำคัญที่สุดของรถยนต์ ถ้าไม่มีเบรคแล้วรถจะเบรคยังไงล่ะจริงไหม แต่ที่น่าตกใจคือคนไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับผ้าเบรค โดยเฉพาะรถยนต์หลายคนคิดว่าผ้าเบรคมีหลายล้อ หมดสักข้างก็มีเป็นไร

หารู้ไม่ว่าหากฝืนใช้ผ้าเบรคจนหมดนอกจากจะเบรคไม่อยู่แล้ว สิ่งที่ตามมาคือจานเบรคสึก ซึ่งจานเบรคสึกเมื่อเจอกับผ้าเบรคจะทำให้รถเกิดเสียงหอนเพื่อเตือน ถ้ายังไม่ฟังอีกก็เตรียมเงินก้อนไปซื้อจานเบรคมาเปลี่ยนได้เลย สึกก่อนกำหนดแน่ๆ 

เช็คไฟส่องสว่าง

จุดหลักๆ ของไฟส่องสว่างที่ควรเช็คหลักๆ ได้แก่ ไฟหน้ารถ ไฟสูง ไฟท้าย ไฟเลี้ยวทั้งสิงข้าง และไฟเบรคทั้งสองข้าง บางคนมักง่าย คิดแค่ว่า ไฟมันดับไปดวงเดียวก็ไม่เป็นไรหรอก มองเห็นอยู่ดี แต่คุณอย่าลืมว่า เวลากลางคืน รถยนต์ที่ไฟดับข้างหนึ่งมองไกลๆ คนนึกว่ามอเตอร์ไซค์ สมมติคาดเดาระยะผิดในการแซงขึ้นมานี่ชนตู้มเลยนะ

ส่วนไฟเลี้ยวที่ต้องส่งสัญญาณบอกคนอื่นว่าเราจะเลี้ยวก็สำคัญ บางจุดคุณจะกลับรถแต่ไฟเลี้ยวเสีย รถคันอื่นที่ตามมาหลังคุณมาเขาไม่สามารถตรัสรู้กับคุณได้แน่นอนว่าจะเลี้ยวหรือหยุด

เช็คแบตเตอรี่

แบตหมดคือจุดจบของการเดินทาง รถยนต์ใช้แบตเตอรี่ในการสตาร์ททั้งนั้น ถ้าแบตหมดรถก็สตาร์ทไม่ติด วิธีตรวจสอบแบตเตอร์ของรถทำได้สองวิธีคือหนึ่งใช้เครื่องมือวัดโวลต์ของแบตรถยนต์ซึ่งหาซื้อมาได้ไม่ยาก หรือสังเกตจากการตลาดรถยนต์

ถ้าสตาร์ทติดยากแล้วเป็นรถที่ใช้มานานเกินสองปีสันนิษฐานเบื้องต้นเลยว่าแบตหมด หากมีอุปกรณ์วัดโวลต์ไฟแบบพกพาก็สามารถเอามาช่วยตรวจสอบได้เพื่อความชัวร์ ถ้าแรงดันไฟต่ำกว่า 11 โวลต์ โอกาสสตาร์ทไม่ติดมีสูง แต่ถ้าแรงดันอยู่ที่ 13.8  – 14.2 โวลต์ ถือว่าปกติ

7-trick-checking-your-car-before-a-long-drive-61

เช็คของเหลวอื่นๆ

ในรถยังมีของเหลวอื่นๆ ที่สำคัญนอกจากน้ำมันเครื่อง และน้ำหล่อเย็น ได้แก่น้ำมันเบรค, น้ำมันครัช, น้ำมันเกียร์ หรือน้ำมันพาวเวอร์ (มีผลในการควบคุมพวงมาลัย) เปิดใต้กระโปรงมา (ใช่..กระโปรงรถ) จะเห็นกระปุกน้ำมันต่างๆ ตั้งอยู่

ถ้าไม่รู้ว่าจุดไหน เปิดคู่มือเลย ในนั้นมีบอกไว้อย่างละเอียด ส่วนน้ำยาแอร์ แม้จะไม่มีผลต่อการขับขี่ แต่ก็มีผลต่อความสบาย ถ้าแอร์ไม่เย็น แล้วต้องเดินทางในจุดที่ร้อนจัดๆ แอร์พัง นี่ชีวิตก็พังด้วยน้ำ ถ้ารู้สึกว่าแอร์ไม่เย็นก็เติมเถอะ

credit: https://www.mangozero.com/7-trick-checking-your-car-before-a-long-drive/

4 สัญญาณ เตือนอันตรายก่อนเครื่องยนต์พัง

หลายๆ คนอาจไม่เคยฉุกคิด หรือเอะใจเลยว่า เครื่องยนต์ใกล้พังมีอาการแบบไหน เนื่องจากไม่เคยสังเกต ไม่เคยใส่ใจต่ออาการที่มันคอยเตือนถึงความผิดปกติ จนกระทั่งมันกลับบ้านเก่าก่อนเวลาอันควร

     การขับขี่รถยนต์ นอกจากขับเป็น และขับถูกกฎจราจรแล้ว การรู้เรื่องรถของเราก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะเรื่องของเครื่องยนต์ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในการขับเคลื่อนรถยนต์ของคุณให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าจนไปถึงจุดหมาย

สำหรับสัญญาณเตือนก่อนเครื่องยนต์พัง มีอยู่หลักๆ ดังนี้

     1. ไฟสัญญาณเตือนที่หน้าปัดรถยนต์ ถือว่าเห็นชัด และง่ายมาก เพราะมันอยู่ตรงหน้าของคุณ ซึ่งไฟเตือนที่ว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์อะไรขึ้นมาก็ตาม มันบอกได้อย่างเดียวว่า รถของคุณมีปัญหาแล้ว

     2. เสียงแปลกๆ ดังผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นเสียงเสียดสี หรือเสียงกระทบกันของโลหะ ส่วนไหนก็แล้วแต่ที่เกิดขึ้นในระหว่างขับขี่ ถือว่าเป็นสัญญาณอันตราย ให้รีบนำรถเข้าตรวจสอบโดยด่วน

     3. กลิ่นเหม็นไหม้ หากขับรถอยู่แล้วได้กลิ่นเหม็นไหม้แปลกๆ ที่ไม่ว่ามันจะมาจากส่วนไหน แสดงว่ารถของคุณเริ่มมีปัญหาแล้ว ดังนั้นคุณควรจะรีบนำรถไปตรวจเช็กกับช่างให้เร็วที่สุด

     4. ท่อไอเสียมีควันผิดปกติ จริงๆ แล้วควันจากท่อไอเสียที่ดีจะต้องสะอาด ไร้กลิ่น และไร้สี แต่ถ้าเมื่อใดที่รถของคุณเริ่มมีปัญหา สีของควันที่ออกมาจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของเครื่องยนต์ เช่น ควันสีขาวไม่มีกลิ่น, ควันสีฟ้าอ่อนมีกลิ่น ฯลฯ

     แม้การหมั่นสังเกตจะเป็นเรื่องดี แต่ก็อย่าให้มากเกินไป เพราะมันอาจทำให้คุณกลัวรถจะเป็นโน่นเป็นนี่ตลอดเวลา การขับรถไปด้วยใจหวาดหวั่นไม่ใช่เรื่องดี เผลอๆ อาจทำให้คุณกลายเป็นคนวิตกจริตไปได้ ทางที่ดีเอาแค่พอประมาณ ดูแลรักษารถยนต์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และคอยตรวจเช็กเมื่อถึงระยะที่กำหนด

สนับสนุนเนื้อหา

cr. https://auto.sanook.com/64333/

เจอ 6 อาการแบบนี้เตรียมเปลี่ยน “แบตเตอรี่” ลูกใหม่ได้เลย

แบตเตอรี่ ถือเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการสตาร์ทเครื่องยนต์เพื่อใช้ในการเดิน ทาง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมันจะมีอายุการใช้งาน 1.5 – 3 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน

จริงๆ แล้วไม่ว่าแบตเตอรี่ที่ใช้จะเป็นแบบแห้ง หรือแบบเปียก มักจะมีสัญญาณเตือนก่อนที่แบตฯ จะหมดคล้ายๆ กัน

     ซึ่งสัญญาณเตือนแบตเตอรี่มีปัญหา มีอยู่หลักๆ ดังนี้

1. เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ จะรู้สึกว่าเครื่องไม่ค่อยมีกำลัง สตาร์ทติดยากกว่าที่เคยเป็น

2. หลังจากจอดรถดับเครื่องแล้วทิ้งไว้สักครู่ หรือดับเครื่องเสร็จแล้วสตาร์ทใหม่ทันที รถจะสตาร์ทติดยาก ต้องพยายามสตาร์ทหลายๆ ครั้งถึงจะติด

3. ไฟส่องสว่างด้านหน้ารถยนต์ไม่ส่องสว่างเท่าเดิม

4. ระบบล็อคประตู และการทำงานของกระจกไฟฟ้าช้าลงกว่าปกติ อืดๆ ไม่เร็วเหมือนเดิม

5. แบตเตอรี่แบบเปียก น้ำกลั่นหมดเร็วกว่าเดิม ต้องเติมถี่ และบ่อยขึ้น

6. ถึงขั้นต้องพ่วงแบตฯ เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ในการสตาร์ทรถยนต์ เพราะสตาร์ทรถไม่ติดเลย

     เมื่อไหร่ที่เกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ให้คุณเตรียมตัวเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้เลย ยิ่งเร็วยิ่งดี เพราะไม่แน่ว่ามันจะไปหมดกลางทางที่ไหน และเมื่อไหร่ หากเจอแจ๊กพ็อตในขณะที่มีธุระเร่งด่วนมากๆ มีหงุดหงิดแน่ๆ

สนับสนุนเนื้อหา

cr. https://auto.sanook.com/64477/

check-credit