เฉลิมชัย รถบ้าน

ที่สุดด้านคุณภาพและบริการ ต้องเฉลิมชัย รถบ้าน
โทร : 096-242-8639 เปิดทำการทุกวัน
110/4 หมู่ 1 ต.หนองยาว อ.เมือง จ.สระบุรี

ข่าวสารยานยนต์

12 เรื่องที่คนใช้รถต้องรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.

ไม่ว่าคุณจะขับรถมอเตอร์ไซค์ หรือขับรถยนต์ เราจะต้องมีประกันภัยภาคบังคับ พ.ร.บ. หรือที่มีชื่อเต็มยาว ๆ ว่า ประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำเป็นประจำทุกปี หลังจากวันที่ 1 เมษายน 2563 สมาคมประกันวินาศภัยไทยร่วมกับสำนักงาน คปภ. ปรับเพิ่มความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. เพิ่มวงเงินคุ้มครองสูงสุดกรณีเสียชีวิตจาก 300,000 บาทเป็น 500,000 บาท

“พ.ร.บ. เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องมีไว้
คุ้มครองต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกายและผู้ประสบภัยจากรถ”

อาจจะเกิดความสงสัยว่า เราต่อ พ.ร.บ. ทุก ๆ ปีมีอะไรที่เราต้องรู้บ้างนะ ? กับ 12 เรื่องที่คนใช้รถต้องรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ. รถเอาไว้ และเพื่อไม่ให้เสียเวลา เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับพ.ร.บ.รถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่น้องสมหวัง สรุปไว้ได้เลยครับผม

1. ต้องต่อพ.ร.บ. ทุกปีห้ามขาด!!

พ.ร.บ. รถยนต์ และพ.ร.บ.จักรยานยนต์เป็นประกันภาคบังคับมีอายุ 1 ปี ซึ่งเราจะต้องต่อทุกปีมิให้ขาด เนื่องจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นครับ ในเอกสารพ.ร.บ. จะระบุข้อมูล “ระยะเวลาเอาประกันภัย” เอาไว้ชัดเจนครับ

2. ไม่ต่อพ.ร.บ. เราจะต่อภาษีรถไม่ได้

เนื่องจาก พ.ร.บ. เป็นเอกสารสำคัญในการต่อภาษีรถยนต์และภาษีรถมอเตอร์ไซค์ เราจะต้องต่อพ.ร.บ. ก่อนต่อภาษี ดังนั้น ถ้าเราไม่ต่อพ.ร.บ.ให้เสร็จสรรพก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้นั้นเอง !!

  • หากรถยนต์หรือมอไซค์ที่ไม่ได้เสียภาษีตามเวลาที่กำหนด จะต้องจ่ายค่าปรับเดือนละ 1% พร้อมกับชำระภาษีย้อนหลังด้วยนะจ้ะ
  • กรณีขาดต่อภาษีรถนานเกิน 3 ปี รถของเราจะถูกระงับป้ายทะเบียน กลายเป็นรถเถื่อนที่อาจจะถูกจับปรับดำเนินคดีตามกฎหมายนะครับ

3. พ.ร.บ. ขาดต่อ อาจถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับปรับ

ถ้าเราลืมต่อพ.ร.บ. แต่หากนำรถยนต์หรือรถมอไซค์แบบไม่มี พ.ร.บ. มาขับขี่บนท้องถนน เมื่อถูกตรวจจะอาจจะถูกลงโทษตามกฎหมาย เสียค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาทล่ะครับ ดังนั้น จะให้ดีอย่าปล่อยให้รถของเราขาดต่อพ.ร.บ. เด็ดขาดนะครับ

4. ค่าเบี้ย พ.ร.บ. เริ่มต้นหลักร้อย

เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ. การเตรียมเงินก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ไว้เบื้องต้น และน้องสมหวังก็เตรียมไว้ให้แล้วครับผม ทั้งนี้ น้องสมหวังขออ้างอิงข้อมูล อัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) 

5. พ.ร.บ.คุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุรถชนรถ

กรณีบาดเจ็บจากรถชนหรืออุบัติเหตุ พ.ร.บ.จะเทคแคร์ทันที!! ให้สอบถามแจ้งสิทธิกับโรงพยาบาลครับ พร้อมกับแจ้งเหตุที่เกิดขึ้น เตรียมเอกสารพ.ร.บ. และบัตรประชาชนของคนเจ็บใช้ยื่นประกอบด้วย โดยความคุ้มครองพ.ร.บ.จะจ่ายตามจริง ! ไม่เกินวงเงินที่กำหนดไว้

กรณีเกิดอุบัติเหตุและสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนหน้านี้ เราสามารถเคลมย้อนหลังได้ภายใน 180 วัน ต้องใช้เอกสาร ดังนี้

  • เอกสารค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล หรือใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล และอย่าลืมใบรับรองแพทย์
  • เอกสารหน้าตาราง พ.ร.บ. ใช้ยื่นเคลมค่ารักษาย้อนหลัง
  • เอกสารอื่น ๆ กรณีบริษัทร้องขอเพิ่มเติม เช่น บันทึกประจำวันจากตำรวจ, สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาใบขับขี่, สำเนาทะเบียนรถ (ถ้ามี)

สามารถประสานงานส่งเอกสารกับบริษัท ประกันภัยที่เราซื้อ พ.ร.บ. เพื่อขอเบิกค่ารักษาพยาบาล ในเงื่อนไขดังกล่าว เราพูดถึงรายละเอียดการเคลมกรณีบาดเจ็บผู้ป่วยนอก (OPD) นะครับ 

6. เคลมรักษาได้ทันทีแบบไม่ต้องสำรองจ่าย*

การใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น เราสามารถเบิกได้ที่โรงพยาบาล โดยเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ภายในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาททุกกรณี (จ่ายค่ารักษาตามจริง) แต่ต้องเตรียมเอกสารให้ครบก่อนเคลมนะ

7. จะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดก็เคลมพ.ร.บ.ได้

เพราะ พ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งจะดูแลค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิด โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด

  • กรณีบาดเจ็บ พ.ร.บ. จะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร พ.ร.บ. คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาทต่อคน
  • กรณีเสียชีวิต คุ้มครองจ่ายค่าปลงศพ  ตามจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อคน

หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อหนึ่งคนครับ

หลังจากพิสูจน์ถูกผิดแล้ว กรณีเป็นฝ่ายถูกจะได้รับส่วนค่าสินไหมทดแทน (ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น) เพิ่มเติม โดยมีความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ พ.ร.บ. จะคุ้มครองค่ารักษาตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร 200,000 – 500,000 บาทต่อคน (กรณีสูญเสียอวัยวะเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) ซึ่งจะมีข้อมูลแตกต่างกันนะครับ
  • กรณี เสียชีวิต ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาทต่อคน

8. เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณีก็เคลมค่ารักษาพยาบาลกับพ.ร.บ.ได้

รู้ไหมว่า พ.ร.บ. เช่น รถล้มเอง ชนเสาไฟฟ้า ลื่นไถล อุบัติเหตุที่เกิดบนท้องถนนสามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลกับพ.ร.บ.ได้ครับ โดยขั้นตอนการเคลมก็เหมือนกันกับขั้นตอนที่เราเล่ามาข้างต้นเลยล่ะ

9. พ.ร.บ. ไม่ใช่ป้ายวงกลม แต่เป็นเอกสาร

อาจจะมีสับสนอยู่บ้างระหว่าง พ.ร.บ. และป้ายภาษี (ป้ายวงกลม ป้ายสีเหลี่ยม ฯลฯ) น้องสมหวังต้องบอกว่าเอกสารพ.ร.บ. นั้นจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นกระดาษขนาด A4 ครับผม ไม่ใช่ป้ายวงกลมที่ติดบนกระจกรถยนต์ หรือที่ติดบนรถมอเตอร์ไซค์นะครับ นั่นเรียกป้ายภาษี อย่าจำสลับกันนะจ้ะ

10. จะให้สะดวกต้องทำพ.ร.บ. บริษัทฯ เดียวกับประกันภัยรถ

พูดถึงคนขับรถยนต์ หรือคนขับมอเตอร์ไซค์ที่ซื้อประกันภัยภาคสมัครใจเพิ่มเติม ถ้าต้องการทำพ.ร.บ. ใช้ต่อภาษีรถจะให้ดี เราควรจะซื้อพ.ร.บ. บริษัทเดียวกับประกันภัยรถยนต์ เพื่อให้ง่ายต่อการเคลมหากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นจะได้ประสานงานเคลมทีเดียว จะได้ไม่ต้องยุ่งยากแจ้งเคลมหลายรอบนั้นเอง ยื่นเอกสารเพียงรอบเดียวก็เพียงพอครับ

11. เราสามารถต่อพ.ร.บ. ล่วงหน้าได้

ถ้าเรากลัวว่าจะขาดต่อพ.ร.บ. เพราะไม่มีเวลา หรือกลัวลืม!! เราสามารถต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือ ภายใน 90 วันครับผม สะดวกสบายสุด ๆ เลยใช่ไหมล่ะ ดังนั้น ใครที่ยุ่ง ๆ งานรัดตัวตลอดเวลาก็ต่อไว้ล่วงหน้าสบายใจกว่าเยอะ

12. พ.ร.บ. ไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถ

ถึงจะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ พ.ร.บ. เนี้ยะไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถ หรือค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดจากอุบัติเหตุรถชนรถ หรือรถชนคนนะครับผม

  • ประกันรถจักรยานยนต์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นประกันจะช่วยดูแล

เป็นไงบ้างครับ ? ทำรู้จัก พ.ร.บ. มากขึ้นแล้วว่าจ่ายทุกปีคุ้มครองอะไรบ้าง ดังนั้น อย่าลืมต่อพ.ร.บ. รถด้วยนะคะ

แหล่งที่มา:oic.or.th rvp.co.th

วิธีขับรถเกียร์ออโต้ เกียร์ D1 D2 และ L คืออะไร มีไว้ใช้ตอนไหน

ปัจจุบันนี้ รถยนต์ ส่วนใหญ่ตามท้องถนนล้วนเป็นรถเกียร์ออโต้ หรือรถเกียร์อัตโนมัติ แทบจะทั้งหมด ด้วยการใช้งานที่ง่าย สะดวกสบาย เพิ่มความเพลิดเพลินในการขับขี่ให้มากกว่าเดิม จะมือใหม่หัดขับหรือมือเก่าก็ขับได้ ไม่ยุ่งยากเหมือนรถเกียร์ธรรมดาที่ต้องคอยเหยียบคลัตช์ ใช้เพียงแค่เท้าขวาข้างเดียวคอยควบคุมคันเร่งและเบรกเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารถยนต์เกียร์ออโต้นั้นจะถือได้ว่าออกแบบมาให้สามารถขับขี่ได้ง่าย แต่การใช้งานโดยเฉพาะการควบคุมและเลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมถูกต้องก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น ผู้ขับขี่ไม่ว่าจะเป็นมือเก๋า หรือผู้ที่หัดขับรถเกียร์ออโต้ ก็ควรต้องศึกษาให้เข้าใจว่า เกียร์ต่าง ๆ ใช้สำหรับทำอะไร

การใช้งานเกียร์อัตโนมัติ

รถเกียร์ออโต้ หรือเกียร์อัตโนมัติ จะมีตำแหน่งเกียร์ที่สำคัญอยู่ 4 ตำแหน่งด้วยกัน ได้แก่ ตำแหน่ง P, R, N และ D ซึ่งในแต่ละตำแหน่งนั้นจะมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ในรถเกียร์ออโต้บางรุ่น เราอาจพบเจอกับตำแหน่ง D1, D2, 2 และ L ด้วยเช่นกัน เรามาดูหน้าที่ของเกียร์แต่ละตำแหน่งกันว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง

  • ตำแหน่งเกียร์ P – Park ใช้สำหรับการจอดรถอยู่กับที่หรือจอดรถในบริเวณที่มีพื้นที่ลาดเอียง จะไม่สามารถเข็นหรือขยับรถได้ 
  • ตำแหน่งเกียร์ R – Reverse ใช้สำหรับการถอยหลัง
  • ตำแหน่งเกียร์ N – Neutral ใช้สำหรับการจอดหรือหยุดรถชั่วคราวในพื้นที่ราบปกติ ซึ่งในตำแหน่งเกียร์ N รถจะสามารถถูกเข็นหรือขยับได้ 
  • ตำแหน่งเกียร์ D – Drive ใช้สำหรับให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หากต้องการเพิ่มความเร็วใช้เท้าขวากดคันเร่งเพิ่ม

นอกจากตำแหน่งเกียร์ 4 ตำแหน่งนี้ที่ดูเหมือนจะครอบคลุมการทำงานของรถเกียร์ออโต้แทบทั้งหมดแล้ว ในรถยนต์แต่ละรุ่นหรือแต่ละแบรนด์ ยังมีตำแหน่งเกียร์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นมาแตกต่างกันไป ซึ่งหลายคนอาจยังสงสัยว่า แล้วตำแหน่งเกียร์ D1, D2 หรือเกียร์ 2 และเกียร์ L คือเกียร์อะไร มีไว้ทำไม และควรต้องใช้เมื่อใด มาดูความหมายของเกียร์เหล่านี้กัน

  • ตำแหน่งเกียร์ D11 และ L – เรียกอีกอย่างว่าเกียร์ต่ำ ใช้สำหรับการเคลื่อนที่บนเส้นทางที่มีความลาดชันมาก เช่น เนิน สะพาน หรือภูเขาสูง เมื่อเราเปลี่ยนเกียร์มาที่ตำแหน่ง D1 หรือ 1 การทำงานอัตราทดของเครื่องยนต์จะอยู่แค่เพียงเกียร์ 1 เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นเกียร์ที่มีพละกำลังมากที่สุด 
  • ตำแหน่งเกียร์ D2 หรือ 2 – มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกับเกียร์ D1 หรือ 1 ใช้สำหรับการเคลื่อนที่บนเส้นทางที่มีความลาดชันไม่มากนัก เป็นเกียร์ที่ให้พละกำลังสูง ทำความเร็วได้ในระดับหนึ่ง

นอกจากจะใช้เกียร์ D1, D2, 2 และ L ในการขึ้นเขาหรือเส้นทางที่มีความลาดชันมาก ๆ แล้ว เรามักใช้เกียร์เหล่านี้ในการลงเขาด้วย เพราะการลงเขา ลงเนิน ที่มีความลาดชันมาก ๆ จำเป็นต้องใช้เบรก และถ้าหากเราใช้เบรกมากจนเกินไปก็อาจเกิดปัญหาเบรกไหม้ได้ การใช้เกียร์ D1, D2, 2 และ L เครื่องยนต์จะมีรอบที่สูง ทำให้เกิด Engine Brake หรือแรงต้านทานจากเครื่องยนต์ที่จะทำให้รถช้าลงเวลาลงเขานั่นเอง

ข้อควรระวังการใช้งานเกียร์ออโต้

รถเกียร์ออโต้แม้จะออกแบบมาเพื่อให้ความสบายแก่ผู้ขับขี่ แต่อีกมุมหนึ่งก็มีข้อควรระวังในการใช้งานด้วยเช่นกัน ทั้งในส่วนของความปลอดภัยตั้งแต่ยังไม่ออกรถ หรือแม้แต่ขณะขับขี่ เพื่อความปลอดภัยต่อตนเอง เพื่อนร่วมทาง และยืดอายุการใช้งานของเกียร์ออโต้ให้ยาวนาน

1.เหยียบเบรกทุกครั้งก่อนการเปลี่ยนเกียร์

2.ดูตำแหน่งเกียร์ทุกครั้งก่อนการออกตัวและหลังจากหยุดรถ

3.ไม่ควรออกตัวแบบกระชากอย่างรุนแรง

4.ไม่เข้าเกียร์ว่างขณะรถวิ่ง เช่น ขณะลงเขา

5.ไม่ควรคิกดาวน์เพื่อเร่งแซงบ่อย ๆ

ทั้งนี้ เพื่อความไม่ประมาทและความปลอดภัยในทุกการเดินทาง เราควรศึกษาและเข้าใจการใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ ของเกียร์ออโต้ เพื่อที่จะเลือกใช้งานเกียร์อัตโนมัติได้อย่างเหมาะสมตามสภาพถนน และขับขี่ด้วยความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

แหล่งที่มา:https://car.kapook.com/view240919.html

จุดควรระวัง!!! ที่คาดไม่ถึง ควรทำความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค

❗️จุดควรระวัง!!! ที่คาดไม่ถึง ควรทำความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค

🔑#กุญแจรีโมท
เป็นสิ่งที่เราต้องสัมผัสและพกติดตัวทุกครั้งที่เดินทาง จึงมีโอกาสที่มือของเราไปสัมผัสเชื้อโรคแล้วมาจับกุญแจรถ ทำความสะอาดง่ายๆ เพียงนำผ้าหรือสำลีชุบแอลกอฮอล์มาเช็ดให้ทั่วทุกซอกมุม

🚗#มือเปิดประตู
เพราะเราไม่รู้เลยว่าตอนที่เราจอดรถทิ้งไว้อาจมีคนอื่นมาจับหรือนกมาถ่ายทิ้งไว้ นอกจากมือเปิดประตูด้านนอกแล้ว มือเปิดประตูด้านในรถก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะคุณสุภาพสตรีในกรุงเทพที่ต้องฝ่ารถติด และแข่งกับเวลาอยู่เสมอ จนต้องรับประทานอาหารหรือแต่งหน้าในรถ ทำให้มีโอกาสสัมผัสเชื้อโรคเข้าร่างกายได้ง่าย ในช่วงนี้จึงอยากแนะนำให้ล้างรถและเช็ดทำความสะอาดกันถี่มากขึ้นค่ะ

🚙#พวงมาลัย
เป็นส่วนที่มือเราทั้งสองข้างต้องสัมผัสอยู่ตลอดเวลา จึงมีโอกาสที่มือเราสัมผัสสิ่งสกปรกจากข้างนอกเข้ามาในรถ รวมไปถึงละอองจากการไอจาม ผสมกับเหงื่อจากมือทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค ควรเช็ดทำความสะอาดเป็นประจำ

🕹#หัวเกียร์
เกียร์เป็นสิ่งที่เราต้องสัมผัสและเลื่อนอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะช่วงที่การจราจรติดขัด จึงอาจเกิดการส่งต่อของเชื้อโรคได้ อาทิ เดียวมือเราไปจับพวงมาลัย เดียวจับเกียร์ เดียวเปิดแอร์ เดียวเปิดวิทยุ ฯลฯ จึงหมั่นทำความสะอาดเช่นกัน

🎮#สวิตช์ควบคุม
ไม่ว่าจะเป็นสวิตช์ไฟเลี้ยว สวิตช์แอร์ หน้าจอวิทยุ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้มือสัมผัสบ่อยครั้ง ควรเช็ดทำความสะอาดเป็นประจำ

💺#เบาะนั่ง
นอกจากต้องทำความสะอาดบริเวณตัวเบาะ และจุดที่ต้องสัมผัสกับร่างกายแล้ว เวลาทำความสะอาดต้องปรับเบาะให้เอียงลงมาราบสุดเพราะจะมีเศษฝุ่นละออง และสิ่งสกปรก ชอบลงไปอยู่ตามซอก อย่าลืมทำความสะอาดบริเวณที่ปรับระดับ และที่เลื่อนเบาะด้วยนะคะ

🥾#พรมรองพื้น
รองเท้าของเราต้องย่ำผ่านสิ่งสกปรกมามากมายก่อนที่จะมาขึ้นรถ พรมรองพื้นนอกจากจะช่วยดักฝุ่นแล้ว ยังมีโอกาสที่เชื้อโรคเข้ามาสะสมได้ตลอดเวลา แค่การดูดฝุ่นคงไม่เพียงพอ ถึงเวลาที่ต้องนำออกมาซักทำความสะอาดด้วยแล้วค่ะ

แหล่งที่มา: https://www.toyotathajean.co.th/2020/04/24/จุดควรระวัง-ที่คาดไม่ถ/

รถเล็กรุ่นท็อป” กับ “รถใหญ่รุ่นล่าง” เลือกตัวไหนดี?

🤔“รถเล็กรุ่นท็อป” กับ “รถใหญ่รุ่นล่าง” เลือกตัวไหนดี?

รถแต่ละรุ่นนั้นมีข้อดีแตกต่างกัน เวลาจะซื้อรถหลายคนคงคิดไม่ตก ว่าจะเอารถรุ่นไหนดี รถใหญ่รุ่นล่าง หรือว่า รถเล็กรุ่นท็อป เลือกไม่ถูกกันเลย วันนี้แอดมินมีคำแนะนำดีๆ มาช่วยในการตัดสินใจค่ะ

• จำนวนผู้โดยสารและสัมภาระ
การถอยรถใหม่ควรคำนึงถึงลักษณะการใช้งานด้วยว่า จำนวนผู้โดยสารที่ร่วมเดินทางและสัมภาระที่ต้องนำไปด้วยเป็นประจำมากน้อยเพียงใด ถ้าเน้นใช้งานในครอบครัวที่ต้องเดินทาง 4-5 คนเป็นประจำทุกสัปดาห์หรือมีการบรรทุกสัมภาระที่มีจำนวนมากๆ การเลือกรถที่มีขนาดใหญ่ก็จะสามารถตอบสนองความต้องการได้มากกว่า แต่หากใช้งานเพียง 1-2 คน อีกทั้งสัมภาระไม่มากแล้วล่ะก็ รถยนต์ขนาดเล็กจะช่วยให้เวลาขับคล่องตัวกว่า

• รูปแบบการใช้งาน
หากต้องใช้งานขับทางไกลอยู่เป็นประจำรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่จะช่วยให้การเดินทางสะดวกสบาย มีสมรรถนะการขับที่ดีและมีความทนทาน ยิ่งถ้าต้องวิ่งบนเส้นทางที่ขรุขระเป็นประจำ แต่ถ้าเน้นใช้งานในเมืองรถที่มีขนาดเล็กจะช่วยให้คล่องตัว โดยเฉพาะความฉับไวในการเปลี่ยนเลน ความง่ายในการกะระยะ รวมถึงการหาที่จอดรถ

• ออพชั่นเหมาะสมกับการใช้งาน
หลายคนคงเคยได้ยินประโยคประมาณว่า “ถ้าราคาตัวท็อปจะแพงขนาดนี้ หันไปเล่นรุ่นใหญ่แทนดีกว่า” จริงอยู่ที่การหันไปเลือกรถยนต์รุ่นใหญ่กว่าอาจดูคุ้มค่ากว่า แต่ในความเป็นจริงนั้น แม้ว่าจะเป็นรถรุ่นใหญ่แต่ตัวโลว์ ก็อาจติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานมาให้น้อยกว่ารุ่นเล็กแต่ตัวท็อป

• ค่าบำรุงรักษา
รถยนต์ที่มีขนาดใหญ่กว่าก็จะมีค่าบำรุงรักษาที่สูงกว่า แม้ว่าจะเป็นอะไหล่แบบเดียวกัน หากไม่มีความจำเป็นต้องซื้อรถขนาดใหญ่ การเลือกซื้อรถรุ่นเล็กกว่า จะช่วยให้ประหยัดได้

🌟ดังนั้น​ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ จึงควรวัดกันที่ความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลักค่ะ

แหล่งที่มา: https://www.toyotathajean.co.th/2020/03/16/รถเล็กรุ่นท็อป-กับ-รถ/

8 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำระหว่างอยู่บนรถ

รับประทานอาหาร

  • ชั่วโมงเร่งรีบการกินอาหารบนรถถือเป็นทางเลือกสะดวกสุด แต่นี่อาจจะเป็นสิ่งที่อันตรายด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่เหมาะสมทั้งคนขับและผู้โดยสารหากกินไปขับรถไปอาจจะทำให้ไม่มีสมาธิในการขับรถ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ ส่วนผู้โดยสารหากนั่งกินๆ อยู่แล้วเกิดอุบัติเหตุอาหารอาจจะหกเลอะเทอะหรือได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรจอดรถแล้วกินให้เรียบร้อยหรือแวะร้านอาหารเพื่อความปลอดภัยค่ะ

ดูหนัง

  • เมื่อเปิดดูหนังสมาธิก็อาจจะไปโฟกัสอยู่ตรงนั้นเลยทำให้ไม่สนใจเส้นทางว่าเรากำลังไปไหนโดยเฉพาะผู้ที่โดยสารด้วยรถสาธารณะอาจจะทำให้เลยสถานที่ที่จะลงได้ส่วนคนขับรถยิ่งเป็นข้อห้ามอันดับต้นๆ ที่ไม่ควรทำเช่นกันค่ะ

แต่งหน้า

  • กรณีนี้ผู้หญิงหลายคงจะทำเป็นประจำโดยอาศัยช่วงรถติดแต่นี่เป็นสิ่งที่อันตรายมากๆ เพราะการแต่งหน้าแต่ละครั้งค่อนข้างใช้สมาธิและความละเอียดสูงไม่ว่าจะทั้งคนขับหรือผู้โดยสารที่นั่งมาด้วยขนาดผู้เขียนเองก็ยังต้องตั้งใจเลยกว่าจะเขียนตาได้แต่ละข้างต้องบรรจงสุดๆ เรียกว่าต้องใช้ทักษะขั้นสูงเลยหากเกิดอุบัติเหตุนอกจากจะเลอะเทอะแล้วสิ่งที่ตามมาอาจจะอาจจะทำให้เราเจ็บตัวได้

คุยโทรศัพท์

  • รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการงดคุยโทรศัพท์ระหว่างขับรถ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่ใช่แค่คนขับเท่านั้นเพราะผู้โดยสารควรงดคุยโทรศัพท์ระหว่างนั่งรถเช่นกัน เนื่องจากการคุยโทรศัพท์เสียงดังอาจจะรบกวนสมาธิคนขับรถได้ ผู้เขียนเคยนั่งรถตู้โดยสารพบว่าบางคันเขียนป้ายติดอย่างชัดเจนว่าห้ามคุยโทรศัพท์ ทำให้บรรยากาศในรถเงียบสงบจริงๆ ที่สำคัญยังป้องกันไม่ให้คนอื่นทราบเรื่องที่เรากำลังคุยอยู่กับปลายสายด้วยนะคะ ^^

สูบบุหรี่

  • ถ้าไปต่างประเทศ อย่างญี่ปุ่นจะเห็นว่าที่นั่นมีพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่โดยเฉพาะ แม้ว่าประเทศไทยมีอิสระในการสูบบุหรี่ แต่ในรถก็ไม่ควรอย่างยิ่ง ทั้งผู้ขับและผู้โดยสาร แม้ว่าจะเปิดกระจกแล้วพ่นควันออกมานอกรถ แต่บางครั้งควันบุหรี่อาจจะลอยเข้าไปยังรถคันอื่นได้ ผู้เขียนเคยเจอคนเขี่ยก้นบุหรี่ออกมานอกรถด้วย แล้วเกิดประกายไฟ เหตุการณ์นี้อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ อยากให้อดใจแล้วหยุดสูบบุหรี่ข้างนอกดีกว่าค่ะ

เล่นเกมส์

  • บ่อยครั้งที่รถติดแล้วอยากจะหาอะไรแก้เบื่อ การเล่นเกมส์อาจจะช่วยคุณได้ แต่…ไม่ควรเล่นขณะขับรถเพราะว่าอาจจะทำให้คุณจดจ่ออยู่กับเกมส์มากเกินไป แทนที่จะสนใจถนน ส่วนผู้โดยสารหากสนใจกับเกมส์ อาจจะทำให้ลืมว่าต้องลงป้ายไหน ส่งผลให้เสียเวลาไปอีก

ยกเท้าวางหน้าคอนโซลรถ

  • หลายคนคงอยากใช้ชีวิตให้เหมือนอยู่บ้าน เลยยกเท้าขึ้นมาวางหน้าคอนโซลรถ ยืดแข้งยืดขาชิวๆ ไป แต่พฤติกรรมแบบนี้ค่อนข้างอันตรายอย่างมาก หากเกิดอุบัติเหตุอาจจะทำให้เราได้รับบาดเจ็บหนักกว่าคนอื่น เพราะอยู่ในท่านั่งที่ผิด อาจจะลองใช้วิธีเป็นปรับเบาะให้เหมาะกับตัวเราดู หรือแวะพักตามจุดจอดพักรถอาจจะช่วยคุณได้

นอนหลับ

  • สำหรับคนขับคงไม่เหมาะอย่างมากถ้านอนหลับแล้วขับรถ หรือง่วงแล้วขับ เพราะนั่นจะทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุได้อย่างแน่นอน ถ้าง่วงมากๆ ขอให้แวะจุดพักรถดีกว่าเพื่อความปลอดภัย ส่วนผู้โดยสารหากนั่งทางไกลสามารถนอนหลับได้เพื่อเก็บแรง แต่กรณีเดินทางใกล้ๆ อย่าหลับลึกนะคะเพราะอาจจะทำให้คุณเลยป้ายได้ เหมือนอย่างผู้เขียนเองเกิดขึ้นบ่อยมาก ^^

พฤติกรรมทั้งหมดอาจจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะคอยเตือนสติให้ทุกคนระมัดระวังมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ถ้าหากทุกคนไม่ประมาททุกสิ่งที่คาดไม่ถึงก็จะไม่เกิดขึ้นนั่นเอง

แหล่งที่มา: https://www.mangozero.com/8-do-not-on-car/

ความเชื่อผิดๆ ที่คนใช้รถมักได้ยินบ่อยๆ

เรามักจะได้ยินเรื่องการดูแลรถจากหลายที่ บ้างก็เข้าไปหาข้อมูลในโลกออนไลน์ เรื่องจริงที่ใช้ได้ก็มีมากมายแต่เรื่องผิดๆ ก็มีไม่น้อยเช่นกัน เรามาดูกันว่ามีเรื่องอะไรที่เข้าใจผิดบ้างจะได้ดูแลรถกันแบบไม่ต้องกังวล

ยกก้านปัดน้ำฝนขึ้นเวลาจอดรถตากแดด

เรื่องนี้ไม่จำเป็นเลย ไม่ว่าจะยกหรือไม่ยกก้านปัดน้ำฝน อายุการใช้งานของยางใบปัดจะอยู่ไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น ขณะเดียวกันก็ส่งผลเสียให้สปริงของก้านปัดล้า ซึ่งราคาเปลี่ยนก็มีมูลค่าสูงกว่ายางใบปัดน้ำฝนแน่นอน

ขับทางไกลยิ่งขับช้ายิ่งประหยัด

ในเรื่องการประหยัดน้ำมันขณะเดินทางไกลไม่จำเป็นเป็นต้องขับช้า เพราะยิ่งขับช้าเท่าไหร่ระยะเวลาในการเดินทางยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แถมไม่ช่วยประหยัดน้ำมันอีกด้วยเพราะกำลังจากเครื่องยนต์ไม่ได้ถูกตัดต่อกำลังให้อยู่ในตำแหน่งเกียร์สูงสุด ในการขับรถทางไกลเราควรดูรอบเครื่องยนต์กับความเร็วให้สัมพันธ์กัน ซึ่งรอบเครื่องยนต์ที่สัมพันธ์จะอยู่ที่ประมาณ 2000 รอบ/นาที สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลที่มีเทอโบแปลผันรอบเครื่องยนต์ที่สัมพันธ์จะอยู่ที่ประมาณ 1800 รอบ/นาที ซึ่งสามารถทำความเร็วได้ประมาณ 100-110 กม./ชม. เพียงเท่านี้เราก็สามารถเดินทางไกลได้อย่างประหยัดและได้เวลาในการเดินทางที่กระชับลงอีกด้วย

เคลือบแก้วแล้วสามารถป้องกันเศษหินหรือการกระแทกได้

ในความเป็นจริง คุณสมบัติของการเคลือบแก้ว คือ ปกป้องสีรถจากมลภาวะต่างๆ เช่น ฝนกัดชั้นสีผิวรถ รอยขนแมว แสงยูวี รวมถึงคราบขี้นก ยางไม้ หรือยางมะตอย และให้ความเงางามสดใสสูงกว่าการเคลือบสีระยะสั้น แต่ไม่สามารถป้องกันสะเก็ดหินหรือกิ่งไม้เหมือนการติดฟิล์มได้

เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน (Hazard Light) เมื่อข้ามแยกที่มีไม่สัญญาณไฟหรือไฟชำรุด

เรื่องนี้ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะถ้าเราเปิดไฟฉุกเฉินแน่นอนว่าฝั่งตรงข้ามหรือด้านท้ายอาจมองเห็น แต่ในทางกลับกันรถที่อยู่ในฝั่งซ้ายหรือขวา จะเห็นสัญญาณไฟเลี้ยวเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดและเกิดอุบัติเหตุได้

เติมลมยางแข็งทำให้ยางระเบิดได้

เรื่องของลมยางต้องบอกก่อนเลยว่าเราสามารถเติมให้แข็งกว่าที่ตัวรถกำหนดได้ไม่ทำให้ยางระเบิดแน่นอน แต่ก็จะมีข้อเสียคือทำให้ขับแล้วรู้สึกกระด้าง และลดการเกาะถนนเนื่องจากแก้มยางยกตัวขึ้น แต่ถ้าเราเติมลมยางอ่อนเกินไปล่ะ…อันนี้บอกเลยว่าเสี่ยงมากกว่าเพราะถ้าลมอ่อนแก้มยางจะย้วยและยืดยุบตลอดเวลาและร้อนจนอาจระเบิด แถมยังทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าปกติ ในการเดินทางไกลเราควรเติมลมยางให้มากกว่าที่คู่มือกำนดไว้อย่างน้อย 2 ปอนด์ เพื่อป้องกันลมยางหานเนื่องจากความร้อน

แหล่งที่มา: https://www.grandprix.co.th/ความเชื่อผิดๆ/

น้ำมันรั่วใต้รถ สัญญาณร้ายเตือนว่ารถคุณเริ่มมีปัญหา

น้ำมันรั่วใต้รถ สัญญาณร้ายเตือนว่ารถคุณเริ่มมีปัญหา

รอยน้ำมันหยดที่พื้นใต้ท้องรถ เป็นสัญญาณเตือนว่าขณะนี้ปัญหาได้มาเยือนรถยนต์ที่เพื่อนๆ รัก ซึ่งมักเกิดขึ้นกับรถที่มีอายุการใช้งานที่นาน ทำให้ขอบยางต่างๆ เกิดการเสื่อมสภาพ หรืออาจมาจากรถเคยผ่านอุบัติเหตุชนอย่างรุนแรง ทำให้มีน้ำมันรั่วซึมออกมาได้ อาการน้ำมันรั่วร้ายแรงต่อรถแค่ไหน และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำมันที่รั่วคือน้ำมันอะไร เรามีคำตอบให้ค่ะ

การสังเกตว่าน้ำมันที่รั่วคือน้ำมันที่มาจากส่วนไหนของรถ ให้ลองก้มดูว่าตำแหน่งที่รั่วมาจากส่วนไหน หากรอยรั่วด้านขวาให้สันนิษฐานก่อนว่าจะเป็นน้ำมันเครื่อง หากเป็นทางด้านซ้ายให้สันนิษฐานรั่วจากระบบส่งกำลังหรือชุดเกียร์ หรือให้ลองสังเกตสีของน้ำมันที่หยดลงพื้น โดยสีจะเป็นตัวบ่งบอกถึงตำแหน่งได้ดีว่ารั่วมาจากจุดไหนของรถ โดยสีของน้ำมันมีดังนี้

1. รอยน้ำมันรั่ว สีใสหรือขุ่นดำ น่าจะเป็นน้ำมันเครื่องรั่ว
2. รอยน้ำมันรั่ว สีแดง เป็นน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
3. รอยน้ำมันรั่ว สีใสหรือขุ่นดำและมีความเหนียวหนืด เป็นน้ำมันเกียร์ธรรมดา
4. รอยน้ำมันรั่ว สีใสหรือขุ่นดำและมีความเหนียวหนืดมาก เป็นน้ำมันเฟืองท้าย

หากพบว่ามีรอยน้ำมันรั่วตามพื้นในตำแหน่งที่รถจอด ควรรีบนำรถไปให้ช่างตรวจสอบ เพราะน้ำมันเหล่านี้ช่วยในการหล่อลื่นของชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ของรถ หากน้ำมันเหล่านี้เกิดรั่วนั่นหมายถึงการทำงานของอะไหล่ในส่วนนั้นทำได้ไม่เต็มที่ และจะเกิดปัญหาการชำรุดเสียหายตามมา ฉะนั้นทุกครั้งก่อนจะขับรถลองก้มดูสักนิดว่ามีน้ำมันรั่วใต้ท้องรถเพื่อนๆ หรือไม่นะคะ

10 ข้อที่ควรทำเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน มีอะไรบ้างมาดูกัน

10 ข้อที่ควรทำเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน มีอะไรบ้างมาดูกัน

เมื่อเกิดอุบัติเหตุควรตั้งสติให้ดีอย่าตกใจ

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ในวันนี้ทางทีมงานจะพาเพื่อนๆไปพบกับเรื่องของ 10 ข้อที่ควรรู้เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ว่าต้องควรปฎิบัติอย่างไรซึ่งหลายๆท่านอาจจะยังไม่เคยทราบมาก่อน และหากมีการปฎิบัติที่ผิดขั้นก็อาจจะมีผลกระทบที่ไม่คาดคิดตามมาได้เช่นกัน เดี๋ยวเราไปชมกันเลยครับกับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ในวันนี้

เมื่อเกิดอุบัติเหตไม่ควรเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุจนว่าจะทราบฝ่ายผิด

          เรื่องของ 10 ข้อที่ควรทำเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนนั้นถือว่า มีประโยชน์อย่างมากในการทำตาม เพราะถ้าหากมีการปฎิบัติที่ไม่ถูกต้องก็อาจจะส่งผลตามมาได้เช่นกัน ซึ่งเรื่องของ 10 ข้อที่ควรทำเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนมีดังนี้

1.ควรหยุดรถทันที

          ควรทำการหยุดรถทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นไม่ว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นเพียงแค่อุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยก็ตาม และไม่ควรเคลื่อนย้ายรถหากว่ายังไม่ได้มีการตกลงกันในเรื่องอุบัติเหตุว่าใครเป็นผู้ที่ผิด ทางทีดีควรรอจนกว่าจะมีเจ้าหน้าที่มาตีเส้นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุในที่เปลี่ยวก็ควรที่จะเลื่อนรถไปจอดในที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการถูกจี้ปล้นในที่เปลี่ยว 

2.อย่าพูดขอโทษ

          เรื่องของการพูดขอโทษเมื่อเกิดอุบัติเหตุถือว่าเป็นสิ่งที่ดีแต่การพูดขอโทษในบางครั้งอาจจะเป็นการยอมรับว่าคุณได้เป็นฝ่ายกระทำผิด ซึ่งอาจจะทำให้เหตุการณ์นั้นเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง 

3.ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง

          เมื่อเกิดอุบัติเหตุควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณให้ละเอียด แก่ประกันภัยของคู่กรณีหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ

4.ขอข้อมูล

           หลังจากที่เราได้ให้ข้อมูลดังกล่าว ไปแล้วเราก็ควรข้อข้อมูลรถคู่กรณีด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากคู่กรณีไม่ให้ข้อมูล ก็ควรจดเลขทะเบียนและรูปพรรณของรถเอาไว้

5.แจ้งตำรวจ

          เมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเล็กหรือน้อย ก็ตามควรที่จะแจ้งตำรวจทุกครั้งหากเกิด อีกฝ่ายนึงไปแจ้งความภายหลังคุณอาจจะกลายเป็นผู้ที่หลบหนีได้ จะทำให้เป้นฝ่ายผิดทุกกรณี

6.หาพยาน

          ซึ่งพยานนั้นสามารถหาได้จากบริเวณดดยรอบที่เกิดเหตุ หากเขายินยอมเป็นพยานก็ควร ขอ ชื่อ-ที่อยู่ไว้เพื่อทำการติดต่อ

7.ไปโรงพยาบาล

          หากสงสัยว่าเกิดอาการบาดเจ็บ ควรไปหาหมอเพื่อทำการตรวจร่างกาย แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้การเรียกร้องค่าเสียหายนั้นยากขึ้น

8.ต้องรีบแจ้งความ

          เมื่อเกิดอุบัติเหตุจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตต้องรีบแจ้งความทันที เพราะบริษัทประกันภัยจะไม่มีการับใบแจ้งความย้อนหลัง

9.ตกลงเรื่องค่าเสียหายให้ดี

          เมื่อเจ้าหน้าที่ประกันภัยมาถึงที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่จะแนะนำคุณในเรื่องของค่าเสียหายว่าจะให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้ชดใช้หรือจะรับผิดชอบเองเพราะในบางกรณีนั้น ที่ให้บริษัทประกันภัยเป้นผู้ชดใช้อาจจะสงผลให้ค่าเบี้ยประกันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย แต่ถ้าหากเป็นผู้ชดใช้เองจะทำให้เสียเงินน้อยกว่า ค่าเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้น

10.อย่ารีบรับข้อเสนอ

          เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หากอีกฝ่ายเป็นผู้ยอมรับผิดอย่าพึ่งรีบรับขอสนอให้ทำการยอมความ เพราะถ้าหากเกิดบาดเจ็บแล้วต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน จะทำให้เรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมได้ยาก

5 วิธีดูแลรถยนต์หลังเจอน้ำท่วม

ถึงหน้าฝนอีกแล้ว เรื่องที่น่ากังวลใจที่สุดก็คือเรื่องน้ำท่วม แล้วรถของเราที่จอดอยู่ถ้าเกิดฝนตกหนัก ฟ้ารั่วหนัก แล้วต้องเจอกับน้ำท่วม มีวิธีในการดูแลรักษารถหลังเจอน้ำท่วมอย่างไรบ้าง ลองดูครับ

สำหรับรถยนต์ที่เจอน้ำท่วมค่อนข้างสูงประมาณเกินครึ่งล้อ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น้ำจะทำความเสียหายให้กับระบบต่างๆในรถยนต์ได้ เมื่อจอดรถแล้วสิ่งที่ควรดู มีดังนี้

ประเมินระดับความสูงรถยนต์ และระดับน้ำที่ท่วม

ระดับน้ำที่ไม่เกิน 15 ซม.หรือไม่เกินครึ่งล้อ ถือว่าเป็นระดับที่สามารถไปได้ แต่หากจำเป็นต้องลุยน้ำท่วมเกินครึ่งล้อ ให้ปิดระบบเครื่องปรับอากาศในรถทั้งหมด ทิ้งระยะให้ห่างจากคันหน้า ใช้เกียร์ต่ำ และพยายามเร่งเครื่องไว้ตลอดทางที่ลุยน้ำเพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ดับ แต่ถ้ามีทางหลีกเลี่ยง ไปทางอื่นดีกว่านะจ๊ะ

ตรวจเช็คน้ำมันเครื่อง

หากต้องลุยน้ำระดับครึ่งล้อ หรือสูงเกินครึ่งล้อ ควรตรวจเช็คน้ำมันเครื่องดูสักหน่อยว่ามีน้ำเข้าไปผสมอยู่หรือไม่ โดยการดึงที่ก้านวัดน้ำมันเครื่องมาตรวจสอบ หากน้ำเข้าเครื่องยนต์ สีของน้ำมันเครื่องจะกลายเป็นสีน้ำนม ให้รีบเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรองทันที

เช็คระบบเบรค

การลุยน้ำทำให้ผ้าเบรคเปียก และมีความชื้นทำให้จานเบรกเกิดสนิมได้ สามารถขจัดสนิมได้โดยการขัด หรือใช้น้ำยา ส่วนผ้าเบรกถ้าหากไม่ร่อนออกจากแผ่น ควรใช้ลมเป่าไล่ความชื้นให้แห้ง เพื่อความปลอดภัย

ตรวจสอบระบบไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์

การลุยน้ำอาจทำให้พัดลมหน้าเครื่อง ตีน้ำขึ้นสู่ห้องเครื่อง หรือซึมเข้าทางพื้นรถ ควรตรวจเช็คห้องเครื่อง และพื้นรถ เนื่องจากพื้นรถเป็นแหล่งรวมสายไฟฟ้า และกล่องควบคุม หากมีน้ำซึมเข้ามาควรไล่ความชื้นด้วยการเป่าลม หรือสเปรย์ไล่ความชื้น และทดสอบการใช้งานของอุปกรณ์ทั้งหมด

ตรวจสอบพื้นพรมของรถ

หากเปียกเล็กน้อยเป็นบางจุด ไล่ความชื้นด้วยการจอดตากแดด และเปิดประตูทั้ง 4 ด้านเพื่อระบายกลิ่น และความอับชื้น หากพรมเปียกทั้งหมด หรือน้ำเข้ารถควรถอดพรม และเบาะซักทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค ตาก หรืออบให้แห้ง เพื่อให้กลิ่นอับ และความสกปรกหายไป

ทั้งหมดนี้เป็นการแนำนำวิธีเช็ครถเบื้องต้น ถ้าไม่มั่นใจ ให้แจ้งศูนย์บริการหรือเรียกช่างมาดูจะได้แก้ไขอย่างถูกวิธี

รวมความเชื่อสุดแปลกเกี่ยวกับรถจากทุกมุมโลก

เมื่อมีโอกาสไปเที่ยวที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ เราอาจพบความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติที่แปลกและแตกต่างกัน เราจึงรวบรวมความเชื่อสุดแปลกเกี่ยวกับรถมาให้อ่านกันค่ะ

1. ประเทศไทย – กราบไหว้รถยนต์และมีเทวดาประจำรถ

คนไทยมีคติความเชื่อเกี่ยวกับพาหนะมาแต่โบราณ เนื่องจากเป็นยานพาหนะพาไปยังที่ต่าง ๆ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น การ “ทำขวัญ” พาหนะจึงช่วยสร้างพลังและกำลังใจแก่เจ้าของ จึงมีการกราบไหว้รถยนต์ก่อนเดินทาง รวมไปจนถึงการมีเทวดาประจำรถ ไม่ว่าจะเป็น การเจิมรถ การไหว้แม่ย่านางประจำรถ หรือบูชาพระพุทธรูปไว้ในรถ แม้ดูไม่ใช่เรื่องแปลกของบ้านเรา แต่หลายชาติก็อาจเกิดความงุนงงที่บ้านเราต่างพากันกราบไหว้สิ่งของทั่วไป

2. ประเทศซาอุดิอาระเบีย – ผู้หญิงห้ามขับรถ

แม้ไม่มีข้อกฎหมายที่ระบุชัดเจนว่าห้ามผู้หญิงขับรถ แต่ด้วยความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรม ทำให้ทุกคนคิดว่าเป็นเรื่องอันตรายและผิดศีลธรรม และคนส่วนมากเชื่อว่าหากผู้หญิงได้ขับรถแล้วอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พวกเธอได้รับอิสระมากขึ้น

3. ประเทศโอมาน – เปิดบทสวดมนต์ให้รถยนต์ฟัง

อีกหนึ่งความเชื่อสุดประหลาดจากประเทศโอมานคือการเปิดเทปเสียงสวดมนต์จากคัมภีร์อัลกุรอ่านเป็นเวลา 1-2 อาทิตย์ หลังจากล้างรถใหม่ เพื่อปัดเป่ามารร้ายออกจากรถ และช่วยสร้างพลังและกำลังใจ

4. ประเทศจีน – เลขไม่มงคล

ถือเป็นหลักความเชื่อที่มีผลกับชาวไทยเชื้อสายจีนเช่นกันในเรื่องความเชื่อเลข 4 ถือเป็นเลขที่ไม่มงคล เพราะมีเสียงใกล้เคียงกับคำว่า “ซี้” ที่แปลว่าตายในภาษาจีนแต้จิ๋ว

5. ประเทศรัสเซีย – ห้ามผิวปากในรถ

แม้การผิวปากจะดูเป็นการแสดงออกถึงความอารมณ์ดี แต่ในทางกลับกัน หลายประเทศก็มีความเชื่อแปลก ๆ เกี่ยวกับการผิวปาก เช่น บ้านเราไม่ให้ผิวปากตอนกลางคืน เพราะเป็นการเรียกวิญญาณ เช่นเดียวกับประเทศรัสเซียที่ไม่ให้ผิวปากในรถ เพราะถือว่าจะทำให้เสียทรัพย์

6. ประเทศแถบยุโรป – ชอบป้ายทะเบียนที่มีเลข 7

ที่ชาวยุโรปมีความชื่นชอบเลข 7 เป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่าเป็นเลขให้โชคลาภ ศักดิ์สิทธิ์ เดินทางปลอดภัย และมีอำนาจพิเศษ เช่นเดียวกับความเชื่อของชาวญี่ปุ่น ที่ถือว่าเลข 7 เป็นเลขมงคล เพราะประเทศญี่ปุ่นมีประเพณีกินสมุน ไพร 7 ชนิด เชื่อกันว่าทำให้สุขภาพดี

7. ประเทศรัสเซีย – ดอกไม้สีเหลือง

รัสเซียซึ่งเชื่อว่าดอกไม้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของการแยกทางกัน ความไม่ซื่อสัตย์ หรือความตาย ชาวรัสเซียจึงไม่นิยมนำดอกไม้สีเหลืองขึ้นรถ เพราะถือเป็นการทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือโชคไม่ดีในการขับขี่นั่นเอง

check-credit