เฉลิมชัย รถบ้าน

ที่สุดด้านคุณภาพและบริการ ต้องเฉลิมชัย รถบ้าน
โทร : 096-242-8639 เปิดทำการทุกวัน
110/4 หมู่ 1 ต.หนองยาว อ.เมือง จ.สระบุรี

Author: tcceditor1

3 สิ่งต้องทำทันทีเมื่อรถหาย ประกันคุ้มครองสูงสุดเท่าไหร่?

รถหาย คุณต้องรับมืออย่างไร?

แน่นอนว่าเมื่อต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์รถหายหรือรถโดนขโมย การควบคุมสติอาจเป็นไปได้ยาก เพราะถือเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหน แจ้งความหรือแจ้งประกันก่อนดี? ถ้าอย่างนั้นตามไปดูข้อมูลที่รู้ใจลิสต์มาให้เลยดีกว่า

1. แจ้งความรถหายทันทีทันใด

ทันทีที่แน่ใจแล้วว่าไม่ได้หลงลืมที่จอดรถ แต่รถยนต์คู่ใจหายไปจริง ๆ อันดับแรกให้แจ้งความรถหายให้ไวที่สุด แนะนำให้เดินทางไปแจ้งความรถหายที่สน.พื้นที่รับผิดชอบในเขตนั้น พร้อมกับให้ข้อมูลเกี่ยวกับรถอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเลขทะเบียน สี รุ่น สถานที่และเวลาที่รถหาย รวมถึงสิ่งของมีค่าภายในรถทั้งหมด

2. แจ้งบริษัทประกัน

หากประกันภัยรถยนต์ที่ทำไว้ ให้ความคุ้มครองด้านประกันรถหาย อันดับต่อมาให้ทำการแจ้งไปยังบริษัทประกัน โดยจะต้องแจ้งทันที แจ้งให้ไวที่สุด พร้อมกับเตรียมหลักฐานต่าง ๆ ไปให้ครบ เช่น บันทึกประจำวัน (ใบแจ้งความรถหาย), กรมธรรม์ประกันภัย จากนั้นบริษัทฯ จะช่วยสืบตามหารถของคุณด้วยอีกแรง

3. แจ้งบริษัทไฟแนนซ์

หากรถยนต์ของคุณยังไม่ผ่อนไม่หมด แน่นอนว่าจะต้องแจ้งรถหายให้ไฟแนนซ์รับทราบด้วย เพราะอย่าลืมว่ารถยังคงเป็นชื่อของไฟแนนซ์อยู่ และเมื่อเคลมประกันรถหาย บริษัทไฟแนนซ์ก็จะเป็นผู้รับผลประโยชน์ฝ่ายแรก จากนั้นถึงจะนำเงินจากบริษัทประกันไปคำนวณกับยอดเงินที่คุณผ่อนรถไปแล้ว พร้อมกับสรุปผลว่าจะต้องผ่อนต่ออีกเท่าไหร่

ประกันคุ้มครองรถหายสูงสุดเท่าไหร่?

หากรถยนต์ของคุณทำประกันชั้น 1 เมื่อรถหายไม่สามารถตามกลับคืนมาได้ จะเคลมได้สูงสุด 80% ของราคารถยนต์ ที่ไม่ได้เต็ม 100% เป็นเพราะมี “ค่าเสื่อมรถและจำนวนปีที่ซื้อมา” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยทุนประกันจะถูกกำหนดจากราคารถยนต์ในวันที่ทำประกัน เช่น มูลค่ารถยนต์ ณ วันทำประกัน 650,000 บาท สามารถเคลมประกันได้ 520,000 บาท (คิดจาก 650,000 x 80%)

Cr.roojai

ในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ การจะซื้อ รถ ใหม่ทั้งที่ อาจจะต้องคิดให้รอบคอบ นอกเหนือจากปัจจัยการใช้งานที่เหมาะสมแล้ว ก็อาจจะต้องคำนึงถึงหากเมื่อต้องขายต่อเป็นรถมือสองแล้ว ราคาจะต้องไม่ตกด้วย 

รถยอดนิยมในไทย ขายรถมือสอง ราคาไม่ตก

1. รถ Toyota Vios รุ่นปี 2019

ราคารถ Toyota Vios 2019

  • ราคารถใหม่ป้ายแดง เริ่มต้นที่ 559,000 – 734,000 บาท
  • ราคาขายต่อมือสอง (ในปัจจุบัน) 390,000 – 530,000 บาท

Toyota Vios ปี 2019 ที่มีการเพิ่มเติมออพชั่นในราคาค่าตัวสุดคุ้ม พร้อมกับการปรับรุ่นย่อยใหม่ มีทั้งหมด 3 รุ่น ได้แก่ Entry , MID และรุ่นท็อป High ที่มีการจัดเต็มอุปกรณ์เข้ามาอย่างครบครัน มาพร้อมสโลแกนใหม่ Toyota Vios Super Spec ครบเต็มคัน ทำให้คุ้มค่า คุ้มราคากับการใช้งาน  อีกทั้งยังเป็นรถยนต์ Sub Compact พิกัดเครื่องยนต์ขนาด 1,500 ซีซี ที่พร้อมตอบโจทย์ทั้งการขับขี่ในเมืองและนอกเมือง ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้น ๆ ในการเลือกซื้อรถมือสองอีกด้วย

2. รถ Toyota Fortuner รุ่นปี 2020

ราคารถ Toyota Fortuner 2020

  • ราคารถใหม่ป้ายแดง เริ่มต้นที่ 1,104,000 – 1,536,000 บาท
  • ราคาขายต่อมือสอง (ในปัจจุบัน) 780,000 – 1,050,000 บาท

สำหรับรถยนต์ Toyota Fortuner ถือว่าเป็นรถยนต์ PPV อันดับหนึ่งยอดนิยมตลอดการของเมืองไทย ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูสวยดูดีมีระดับ และยังมาพร้อมกับออฟชั่นเสริมแบบครบครัน จุใจ มีเสน่ห์ที่หรูหรา แฝงไปด้วยความเท่ดุดันแต่สง่างาม เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของรุ่นนี้และทำให้หลาย ๆ คนจำได้ง่าย จึงทำให้รถรุ่นนี้ไปต่อได้สบายๆ ราคาไม่ตกง่าย ๆ และยังเป็นที่นิยมในการซื้อขายด้วย

3. รถ Honda CR-V รุ่นปี 2018

ราคารถ Honda CR-V 2018

  • ราคารถใหม่ป้ายแดง เริ่มต้นที่ 1,168,000 – 1,543,000 บาท
  • ราคาขายต่อมือสอง (ในปัจจุบัน) 750,000 – 890,000 บาท

รถยนต์ SUV ขวัญใจมหาชน เน้นการออกแบบที่เน้นความหรูหราโฉบเฉี่ยว ไฟหน้าแบบโปรเจคเตอร์ดีไซน์เท่ทันสมัย มาพร้อมเกียร์อัตโนมัติ 5 Speed ที่เป็นระบบควบคุมอัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขับขี่ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีระบบอีโค แอสซิสต์ (Eco Assist) ซึ่งเด่นในด้านช่วยในการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังรองรับการใช้ E85 ได้อีกด้วย เรียกได้ว่าคุ้มค่าสุด ๆ และยังเหมาะสำหรับยุคนี้อีกด้วยค่ะ

4. รถ Honda Civic รุ่นปี 2018

ราคารถ Honda CR-V 2018

  • ราคารถใหม่ป้ายแดง เริ่มต้นที่ 778,000 – 1,130,000 บาท
  • ราคาขายต่อมือสอง (ในปัจจุบัน) 490,000 – 680,000 บาท

สำหรับ Honda รุ่นนี้มาให้มีความสะดุดตาเป็นพิเศษ และยังเป็นรถเก๋งซีดานรุ่นเรือธงจากฮอนด้าที่ได้ถูกปรับโฉมเสริมรูปลักษณ์ให้ดูสปอร์ตหรูหรามากยิ่งขึ้น ขณะที่ฟังก์ชั่นภายในก็ได้รับการอัพเกรดเทคโนโลยีสุดทันสมัยเข้าไปเสริมมากมาย อีกทั้งยังเพิ่มขุมพลังเครื่องยนต์ 1.5 VTEC Turbo ทำให้เร่งได้อย่างดีเยี่ยมไร้การสะดุด พร้อมระบบส่งกำลังแบบใหม่ล่าสุดด้วยระบบเกียร์ CV หากใครชอบเทคโนโลยีล้ำๆ Civic รุ่นนี้ถือว่าจัดเต็มทุกรูปแบบตรงทุกความต้องการของคุณอย่างแน่นอน

5. รถ กระบะ Isuzu D-Max รุ่นปี 2022

ราคารถ Isuzu D-Max 2022

  • ราคารถใหม่ป้ายแดง เริ่มต้นที่ 469,000 – 599,000 บาท
  • ราคาขายต่อมือสอง (ในปัจจุบัน) 430,000 – 480,000 บาท

สำหรับรถกระบะรุ่นยอดนิยมในไทยที่ทำตลาดมาถึง 3 เจเนอเรชั่นอย่าง Isuzu D-Max มีเครื่องยนต์ดีเซลหลากหลายความแรงให้เลือก หรือเน้นประหยัดน้ำมันก็ทำได้ดี พร้อมศูนย์บริการกับอะไหล่ที่แพร่หลาย หาได้ง่าย ซึ่งราคามือสองของ Isuzu D-Max เจนแรก ตัวถังที่นิยมซื้อใช้นั่นคือแบบ 4 ประตู ยังอยู่ในระดับเริ่มต้นที่ 2 แสนปลาย ๆ หากสภาพดี หากเป็นรุ่นยกสูงหรือขับเคลื่อน 4 ล้อ ก็มีราคาสูงขึ้นไปอีกประมาณ 50,000 บาท และยังคาอยู่ในระดับราคานี้มานานหลายปีแล้ว ทำให้การหาซื้อขายยังคงเป็นที่นิยมอยู่เรื่อย ๆ ในตลาดรถกระบะมือสอง

6. รถยอดนิยม Honda Jazz รุ่นปี 2019

ราคารถ Honda Jazz 2019

  • ราคารถใหม่ป้ายแดง เริ่มต้นที่  590,000 – 715,000 บาท
  • ราคาขายต่อมือสอง (ในปัจจุบัน) 420,000 – 520,000 บาท

สำหรับจุดเด่นของ Honda Jazz ยอดนิยมคันนี้ที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะให้คะแนนที่รูปโฉมอันสวยงามปราดเปรียวแล้ว รุ่นนี้ก็ยังมีจุดเด่นตรงที่ อัตตราเร่งที่ดี ช่วยเซฟเรื่องค่าน้ำมัน รวมไปถึงความอึด ทนทานในเรื่องของเครื่องยนต์ไซส์ 1.5L และยังสามารถขับขี่ได้คล่องตัว หาที่จอดง่าย เหมาะสำหรับการใช้งานในเมืองเป็นอย่างยิ่ง และยังสามารถพับเบาะหลังเพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บสัมภาระขนาดใหญ่ที่ยังคงเป็นจุดเด่นหลัก ๆ สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องขนของเป็นประจำด้วย

7. รถยนต์ Suzuki Swift รุ่นปี 2019

ราคารถ Suzuki Swift 2019

  • ราคารถใหม่ป้ายแดง เริ่มต้นที่ 429,000 – 559,000 บาท
  • ราคาขายต่อมือสอง (ในปัจจุบัน) 290,000 – 390,000 บาท

Suzuki Swift รุ่นนี้มีการออกแบบภายนอกให้ดูมีมิติทำให้ตัวรถดูใหญ่ขึ้น เน้นรูปทรงมนให้ดูลงตัวกลมกลืนทั้งคัน อีกทั้งยังมีไฟหน้าใหม่ใหญ่กว่าเดิมส่องสว่างเส้นทางแม้ยามราตรีอย่างมีสไตล์ ภายในหรูหราเรียบง่ายเน้นการใช้งานอย่างสะดวกสบาย พื้นที่ในห้องโดยสารทำออกมาได้สมราคาแถมยังดีกว่าหลาย ๆ รุ่นในประเภท Segment เดียวกัน เบาะหลังยังสามารถพับได้ 60:40 ช่วงล่างดี นุ่มนวล เกาะถนนได้ดีเยี่ยม  และที่สำคัญยังเป็นรถยนต์ประหยัดน้ำมัน ถือว่าเป็นซิตี้คาร์น่าใช้และยังขายต่อได้ราคาดี

ขายรถที่ไหนได้ราคาดี ลงขายรถมือสองฟรี!

1. one2car

ถ้าถามว่าขายรถมือสองที่ไหนดี 2566 นาทีนี้ต้องที่ one2car เท่านั้น เพราะเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายรถยนต์มือสองที่มีรถมากที่สุดในไทย ปัจจุบันมีมากกว่า 48,000 คัน ซึ่งคุณสามารถลงขายรถผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันก็ได้

ทำไมต้องขายรถมือสองที่ one2car

  • one2car เป็นเว็บลงประกาศขายรถฟรี!
  • สร้างประกาศขายรถได้ไว ไม่ยุ่งยาก
  • เป็นแอปซื้อขายรถยนต์มือสองที่เชื่อถือได้
  • เป็นศูนย์รวมระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขายรถมือสองขนาดใหญ่ มีผู้ซื้อกว่า 2.5 ล้านคน รอซื้อรถคุณอยู่
  • มีฟีเจอร์ My Garage ประเมินราคารถมือสองได้ใน 1 นาที โดย 20% ของคนที่ใช้ฟีเจอร์นี้เช็กราคากลางรถมือสอง สนใจขายรถผ่านแอปฯ one2car ทันที
  • ตั้งราคาขายรถเองได้ ไม่จำเป็นต้องไปหาว่าขายรถที่ไหนดี ให้ราคาสูง
  • มีบริการตรวจสภาพรถยนต์ ซึ่งมีส่วนช่วยให้คุณขายรถได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อไปอีกขึ้นหนึ่ง

2. CARSOME

เว็บไซต์ขายรถมือสองที่อยากแนะนำอีกหนึ่งแห่ง คือ CARSOME ถือเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายรถยนต์มือสองที่กำลังมาแรง มาพร้อมกับสโลแกน “ปลอดภัย เชื่อถือได้ และจบไวใน 24 ชั่วโมง” มีธุรกรรมการซื้อขายรถถึง 100,000 ธุรกรรมต่อปี พร้อมศูนย์ CARSOME กว่า 50 เมือง ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทำไมต้องขายรถมือสองกับ CARSOME

  • กระบวนการและการทำธุรกรรมไม่ยุ่งยาก ตั้งแต่ตรวจสอบสภาพรถฟรี การจัดการเอกสารทั้งหมด ตลอดจนการโอนกรรมสิทธิ์
  • มีการตรวจสอบรถอย่างละเอียดเพื่อตีราคารถที่แท้จริง
  • ตกลงราคากันได้ จ่ายเงินให้ภายใน 24 ชั่วโมง
  • ไม่มีค่าบริการ แม้ว่าคุณจะตรวจสภาพรถและตัดสินใจไม่ขายรถที่นี่

รวม 4 เหตุผลซื้อรถมือสองดีไหม ทำไมถึงน่าสนใจ

ถ้าพูดถึงรถมือสอง สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงมักจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพการใช้งาน สภาพภายนอก และสภาพภายในรถ กลัวจะโดนย้อมแมวขาย

เพราะฉะนั้นหากต้องการเป็นเจ้าของรถมือสองสภาพดี แนะนำให้เลือกซื้อกับแหล่งขายที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐานรองรับ รับรองว่าได้รับรถมือสองอะไหล่แท้แน่นอน

ซื้อรถมือสองดีไหม ปัจจัยที่ทำให้น่าซื้อ

การมีแหล่งซื้อรถบ้าน มือสองที่มีมาตรฐาน ทำให้คนที่อยากมีรถ สามารถเลือกซื้อเพื่อเป็นเจ้าของรถคันแรก คันที่สองได้ง่ายขึ้น

คำถามที่ว่า ‘ซื้อรถมือสองดีไหม’ เรารวบรวม 4 เหตุผลที่น่าสนใจมาไว้ให้แล้ว

ราคาถูกกว่ารถยนต์ป้ายแดง

นับว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตัดสินใจเลือกซื้อรถมือสองได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะรถในรุ่นเดียวกันเมื่อเทียบราคากันแล้ว

บางรุ่นอาจถูกกว่ารถป้ายแดงเกือบครึ่งเลยทีเดียว

ตัวเลือกเยอะไม่จำกัด Segment

ถ้าเทียบกันระหว่างรถมือสองกับรถป้ายแดง ในงบประมาณจำกัด ตัวเลือกรถที่ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ รุ่น หรือขนาด รถมือสองจะมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบมากกว่า

ราคาขายต่อไม่ตก ไม่เยอะ หรือเสมอตัว

ค่าเสื่อมสภาพรถมือสอง ถือว่าน้อยกว่ารถป้ายแดงมาก ยกตัวอย่างเช่น รถ BMW ป้ายแดงราคา 2 ล้านบาท มือสองขายอยู่ 800,000 บาท

เต็นท์รถรับซื้ออยู่ที่ 400,000 บาท เห็นได้ชัดว่าค่าเสื่อมของรถมือสองทำให้เราไม่เจ็บตัวมากนัก

เหมาะกับการซื้อด้วยเงินสด

เนื่องด้วยราคาของรถมือสองไม่สูงมาก อีกทั้งยังมีระดับช่วงราคาให้เลือกที่หลากหลาย ทำให้ผู้คนเก็บเงินซื้อเงินสดได้ง่ายกว่า

สรุปบทความ 

ปัจจุบันการซื้อรถมือสอง ไม่เหมือนกับสมัยก่อน เพราะมีแหล่งจำหน่ายรถบ้าน มือสอง ที่มาพร้อมการรับประกันคุณภาพ อีกทั้งก่อนรับรถยังมีบริการตรวจเช็กมากกว่า 280 จุด

ทำให้ผู้ซื้อสามารถไว้วางใจในเรื่องคุณภาพของรถได้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมผู้คนจึงนิยมเลือกซื้อรถมือสองแทนรถป้ายแดง เพราะนอกจากจะได้รับรถที่มีมาตรฐาน

ยังสามารถซื้อในราคาที่ถูกกว่าด้วย

อ้างอิง https://www.toyotasure.com/contentdetail/contentdetailsui/487

รถชนหลายคัน คันไหนผิด?

เมื่อพูดถึงเห็นการณ์รถชนกันหลายคัน หลายคนมักบอกว่าคันสุดท้ายจะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด อ้างอิงจาก พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2540 มาตรา 40 ที่ระบุเอาไว้ว่า

“ผู้ขับขี่จะต้องขับรถโดยเว้นระยะห่างจากรถคันหน้า

ในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย เมื่อเกิดเหตุจำเป็นต้องหยุดรถ”

แต่อย่าลืมว่าอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะระมัดระวังด้วยการเว้นระยะห่างสักแค่ไหน ยิ่งเป็นอุบัติเหตุรถชนซ้อนกันหลายคันแบบนี้ด้วยแล้ว ไม่ได้หมายความว่าคันสุดท้ายผิดเสมอไป โดยจะต้องดูจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ จุดเกิดเหตุ พร้อมกับสอบสวนเพื่อหาสาเหตุในการชนครั้งนี้ก่อนให้เสร็จสิ้น แบ่งยกตัวอย่างลักษณะการชน 4 สถานนการณ์ ดังต่อไปนี้

1. รถชนซ้อนคัน แล้วคุณเป็นคันแรก

กรณีนี้หากคุณเบรคกะทันหัน จนเป็นเหตุทำให้รถที่ตามมาเบรคไม่ทันและชนซ้อนกัน ด้วยสาเหตุมีรถปาดหน้า คนหรือสัตว์วิ่งตัดหน้า หลายคนมักตั้งเป้าไปที่คันสุดท้าย หากคุณมีหลักฐานที่สามารถระบุได้ว่า “สาเหตุ” ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้คืออะไร เช่น มีรถขับปาดหน้าจนเป็นเหตุทำให้คุณต้องเบรคกะทันหัน ต่อให้รถชน 5 คันรวด คันไหนผิด ก็คือคันที่ขับปาดหน้าคุณจะเป็นฝ่ายผิดทันที เนื่องจากเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุรถชนซ้อนคันนั่นเอง

2. รถชนซ้อนคัน แล้วคุณเป็นคันที่ 2

กรณีที่คุณขับรถอยู่บนถนนดี ๆ ไม่มีการเบรคกะทันหัน แล้วมีคันอื่นขับมาชนท้าย ชนรถของคุณพุ่งไปชนคันข้างหน้าอีกที แบบนี้ระบุคนผิดไม่ยาก เพราะยังไงคันที่มาชนท้ายก็เป็นฝ่ายผิด แถมยังต้องรับผิดชอบค่าเสียหายของรถคุณ และรถยนต์คันแรกอีกด้วย

3. รถชนซ้อนคันก่อน แล้วค่อยมีรถอีกคันขับมาชนท้าย

กรณีที่คุณขับรถชนท้ายรถคันข้างหน้าก่อน แล้วจู่ ๆ ก็มีรถอีกคันมาชนท้ายรถของคุณ (ขับขี่ไม่ระมัดระวัง) กรณีอุบัติเหตุรถชน 3 คัน ใครผิด? ตอบเลยว่าต้องแยกความผิด ซึ่งคุณมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายให้กับรถคันข้างหน้าเท่านั้น ส่วนรถคันที่ชนคุณ จะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อรถของคุณ

4. รถชนซ้อนคัน แล้วคุณเป็นคันสุดท้าย

กรณีที่คันข้างหน้าจอดอยู่เฉย ๆ แล้วคุณเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนซ้อนคัน คุณจะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่เพียงผู้เดียว เว้นแต่ว่า! เกิดเหตุรถชนซ้อนคันอยู่ก่อนแล้ว และคุณดันขับมาชนท้ายอีกรอบหนึ่ง (ต้องมีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้)

กรณีที่รถชน เราเป็นฝ่ายผิด เราอาจต้องชดใช้ความเสียหายให้กับรถคันที่คุณชนเพียงคันเดียว ส่วนคันที่เหลือต้องไปพิสูจน์หลักฐานต่อ ว่าใครถูกใครผิด หรือใครเป็นต้นเหตุ แล้วจึงรับผิดชอบค่าเสียหายตามความผิดที่พิสูจน์ได้ต่อไป

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถคืออะไร? ส่งรถซ่อมต้องรู้

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถคืออะไร?

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ “เงินชดเชย” จากการเกิดอุบัติเหตุในกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูก โดยสามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี เพื่อใช้เป็นค่าเดินทางในระหว่างนำรถยนต์ส่งซ่อมนั่นเอง คำถามคือ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถสูงสุดกี่วันที่จะขอได้ ซึ่งอัตราขั้นต่ำที่ควรรู้ก่อนเรียกร้องค่าขาดประโยชน์มีดังนี้

อัตราขั้นต่ำค่าขาดผลประโยชน์จากการใช้รถ

  1. รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
  2. รถยนต์รับจ้างสาธารณะไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
  3. รถยนต์ขนาดเกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
  4. รถประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามข้อ 1-3 อย่าง “รถจักรยานยนต์” ให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องและตกลงกันได้ โดยพิจารณาจากหลักฐานเป็นกรณีไป

หลังจากทราบแล้วว่าสามารถเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถวันละเท่าไหร่แล้ว ลำดับต่อมาที่ผู้เอาประกันควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม คือ เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ และขั้นตอนการเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ซึ่งจะมีรายละเอียดเป็นยังไง ตามกันต่อในหัวข้อต่อไปได้เลย

เรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ต้องทำยังไงบ้าง?

ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูก คู่กรณีเป็นฝ่ายผิด รู้ใจมีวิธีเคลมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถมาบอกต่อ โดยมีวิธีง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากดังนี้

  1. ติดต่อบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (ฝ่ายผิด) เพื่อยืนยันคำเรียกร้องค่าขาดผลประโยชน์จากการใช้รถในช่วงเวลาที่รถยนต์ของคุณอยู่ระหว่างการซ่อม โดยต้องติดต่อด้วยตัวเอง
  2. เมื่อบริษัทคู่กรณีแจ้งเอกสารที่ต้องการ ให้คุณนำเอกสารต่าง ๆ ส่งกลับไปยังบริษัทประกันคู่กรณี
  3. เจ้าหน้าที่บริษัทฝ่ายคู่กรณีดำเนินการตรวจสอบ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ทางบริษัทจะติดต่อกลับมาหาคุณ หรือบางครั้งอาจติดต่อมาเพื่อต่อรองค่าขาดประโยชน์
  4. หลังจากตกลงรายละเอียดต่าง ๆ จบแล้ว จะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 7 วัน ก็จะได้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

เอกสารเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

สำหรับเอกสารจำเป็นที่ต้องใช้สำหรับยื่นเรื่องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ส่วนใหญ่บริษัทประกันของคู่กรณีจะเป็นคนกำหนดว่าต้องการอะไรบ้าง ผู้เอาประกันจะต้องเตรียมเอกสาร และส่งกลับไปให้บริษัทประกันของคู่กรณีมีดังนี้

  • ใบเสนอรายการด้านความเสียหายของรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ
  • ใบรับรองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน (ใบเคลม)
  • สำเนาเล่มทะเบียนรถยนต์
  • สำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
  • สำเนาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • หนังสือส่งมอบรถยนต์เมื่อเสร็จ/ใบรับรถ
  • รูปถ่ายขณะรถกำลังถูกซ่อม
  • รูปถ่ายความเสียหาย
  • หนังสือเรียกร้องเกี่ยวกับสินไหม ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ (แบบฟอร์มเรียกร้องค่าขาดประโยชน์)
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร

5 วิธีใช้บัตรเดบิต ให้ห่างไกลมิจฉาชีพ

  1. ไม่เปิดเผยข้อมูลบัตรให้ใคร
    ป้องกันมิจฉาชีพดูดเงินไปใช้ หรือนำข้อมูลบัตรไปใช้ในทางที่ผิดได้
  2. ไม่ควรตั้งหัสบัตรที่คาดเดาง่ายเกินไป
    ไม่ควรใช้ข้อมูลส่วนตัวในการตั้งรหัสบัตร
  3. สังเกตตู้ ATM ก่อนใช้งาน
    หากพบอุปกรณ์แปลกปลอม ให้เปลี่ยนไปใช้ตู้ ATM เครื่องอื่น
  4. ซื้อของออนไลน์กับร้านค้าที่น่าเชื่อถือ
    เลือกเว็ปไซต์ทางการ หรือ ร้านค้าออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับการรับรอง
  5. ตรวจสอบการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตอยู่เสมอ
    หากพบรายการที่ผิดปกติรีบอานัดบัตร และติดต่อธนาคารทันที

ร้อนแล้วต้องระวังโรคลมแดด

อาการ

-อุณภูมิร่างกายสูงเกิน 40 องศา

-กระหายน้ำมาก

-ซึม ชัก หมดสติ

-ไม่มีเหงื่อออก ผิวแดง

-คลื่นใส้ อาเจียน

-วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง

การป้องกัน

*เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฉอล์ คาเฟอีน

*ดื่มน้ำให้เพียงพอ6-8แก้ว/วัน

*ไม่อยู่ในที่แจ้งนาน

*ใส่เสื้อผ้าสบายถ่ายเทสะดวก

แนวทางปฎิบัติหากพบผู้ป่วยที่มีอาการฮีทสโตรก

-พาเข้าที่ร่ม มีอากาศถ่ายเท

-ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น เพื่อระบายความร้อน

-ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบ ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก และพัดลมช่วยระบายความร้อน

ซื้อรถเงินสดหรือผ่อนดีกว่ากัน? แบบไหนตอบโจทย์คุณมากกว่า

ซื้อรถเงินสดหรือซื้อรถเงินผ่อนแบบไหนดีกว่ากัน คงเป็นคำถามสำหรับคนที่กำลังอยากจะซื้อรถสักคันสงสัยและตัดสินใจกันอยู่ ซึ่งการมีรถสักคันไม่ว่าจะเงินผ่อนหรือเงินสดมักมีค่าใช้จ่ายที่แฝงอยู่ด้วย นอกจากค่ารถแล้ว ยังมีค่าแก๊ส ค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษา ค่าประกันรถยนต์ พรบ. และภาษีรถยนต์ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อย่าง ค่าล้างรถ ค่าที่จอดรถ ค่าทางด่วน สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องพิจจารณาร่วมกันไปด้วย ซื้อรถเงินสดหรือผ่อนดีกว่ากัน? แบบไหนเหมาะกับใคร อ่านด้านล่างนี้เลย

ข้อดีและข้อเสียของการซื้อรถเงินผ่อน

ข้อดี

  • สามารถผ่อนรถได้แม้ว่าจะมีเงินก้อนเล็ก แนะนำให้มองหา “การผ่อนชำระด้วยโปรโมชั่นดอกเบี้ย 0%” เพราะถือเป็นโอกาสทองของคนที่อยากผ่อน
  • ได้รับ “สิทธิพิเศษ” จากธนาคารและสินค้าในเครือ เช่น บริการดูแลรักษารถยนต์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ
  • แบ่งจ่ายได้หลายงวด เลือกตามกำลังทรัพย์ของตัวเองได้เลย
  • กรณีที่คุณ “เครดิตดี” ไม่ติดแบล็กลิสต์หรือเครดิตบูโร จะช่วยเบิกทางให้การกู้ผ่อนสินค้าในอนาคตทำง่ายยิ่งขึ้น

ข้อเสีย

  • ต้องบริหารเงินในแต่ละเดือนให้ดี เพราะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
  • ต้องเสียดอกเบี้ยในการผ่อนชำระรถยนต์ และต้องมีเงินดาวน์รถขั้นต่ำตามที่กำหนด ยิ่งดาวน์มาก ดอกเบี้ยยิ่งลดลง
  • มีขั้นตอนการซื้อรถเงินผ่อนที่ยุ่งยาก อย่างการยื่นเอกสารขอสินเชื่อรถยนต์ เป็นต้น
  • หากผิดนัดชำระอาจทำให้เสียเครดิตได้ และแน่นอนว่าจะส่งปัญหาในการกู้ซื้อในอนาคต
  • มีฐานะแค่เพียงผู้เช่าซื้อ ไปจนกว่าจะผ่อนชำระค่างวดครบทุกบาททุกสตางค์ และกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เสียชีวิต ผู้รับมรดกจะต้องรับภาระในการผ่อนต่อ
  • ต้องรอโปรโมชั่นดี ๆ เพื่อให้ได้รับส่วนลดและของแถมเพื่อความคุ้มค่ามากที่สุด

ซื้อรถเงินผ่อนเหมาะกับใคร?

ซื้อรถเงินผ่อนเหมาะสำหรับคนที่มีเงินก้อนไม่มากและไม่อยากรอจนเก็บเงินจนครบ หรือเป็นเงินร้อนหรือเงินหมุนเวียนในครอบครัว แบบนี้การผ่อนจะช่วยลดภาระมากกว่า ในทางกลับกัน ก็จะต้องเป็นคนที่บริหารเงินเก่งในแต่ละเดือน มีค่าใช้จ่ายในการผ่อนรถค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน และ ค่าใช้จ่ายอื่น ที่แฝงมากับการผ่อนรถสักคัน อย่างไรก็ตามการจะซื้อรถสักคัน ควรคำนวณค่าใช้จ่ายรถยนต์ ที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละเดือน เพื่อไม่ให้เป็นภาระที่หนักจนเกินไปและเราสามารถผ่อนจนปลดหนี้ได้

ข้อดีและข้อเสียของการซื้อรถเงินสด

ข้อดี

  • สามารถซื้อรถได้เลย ไม่ต้องรอช่วงโปรโมชั่น
  • จ่ายทีเดียวจบ ไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องดอกเบี้ย หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมา จ่ายแค่ค่าประกันภัยรถยนต์และค่าอุปกรณ์เสริมนิด ๆ หน่อย ๆ เช่น ชุดแต่งภายนอก-ภายใน ฟิล์มกรองแสง เป็นต้น
  • ได้รถราคาถูกกว่าเพราะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
  • ไม่ต้องแบกรับภาระหนี้ระยะยาว ลดปัญหาทางการเงินได้เป็นอย่างดี
  • ไม่ต้องคำนวณเรื่องระยะเวลาในการผ่อน หรือกรณีที่มีปัญหาต้องจ่ายเงินล่าช้า
  • ขั้นตอนการซื้อรถเงินสดจะยุ่งยากน้อยกว่า แล้วซื้อรถเงินสด ทําอย่างไร? คุณสามารถเข้าไปเลือกรถในโชว์รูม เตรียมบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน และเงินสด โอนผ่านธนาคาร หรือจ่ายผ่านแคชเชียร์เช็ค ก็เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
  • ยิ่งจ่ายเต็มมากเท่าไหร่ ยิ่งได้รับส่วนลดหรือของแถมเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

ข้อเสีย

  • ไม่ได้รับสิทธิพิเศษจากธนาคารและสินค้าต่าง ๆ ในเครือ
  • ต้องอาศัย “ความอดทน” ในการเก็บเงินให้ครบตามจำนวนที่ต้องการ แถมยังใช้เวลาค่อนข้างนาน (ขึ้นอยู่กับสภาพการเงินของแต่ละคน)
  • ไม่มีการบันทึกในเครดิตบูโร หากต้องการกู้ซื้อสิ่งต่าง ๆ ในอนาคต อาจต้องยื่นเอกสารยืนยันสถานะทางการเงิน เว้นแต่มีรายได้ประจำและไม่มีเหตุผลที่ต้องผ่อนอะไร ในส่วนนี้จะไม่ถือว่าเป็นข้อเสีย

ซื้อรถเงินสดเหมาะกับใคร?

ซื้อรถเงินสดดีไหม? การซื้อรถยนต์ด้วยเงินสด คือ การนำเงินก้อนมาซื้อในคราวเดียว ไม่มีดาวน์ ไม่มีผ่อน และไม่มีดอกเบี้ย จึงเหมาะสำหรับคนที่มีการวางแผนการเงิน เพราะต้องมีเงินเก็บจำนวนหนึ่ง และจะต้องไม่ใช่เงินร้อน หรือเงินที่ใช้สำหรับหมุนเวียนในชีวิตประจำวัน และเงินที่สำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมาในอนาคต และยังเหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการพบเจอกับความยุ่งยากในการเตรียมเอกสารด้วย

การซื้อรถยนต์ด้วยเงินสด เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากหลายคนไม่ต้องการเสียเงินก้อน ด้วยปัจจัยและเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อแบบเงินผ่อนมากกว่า

การโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ คืออะไร?

การโอนรถ เป็นการเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถยนต์คนเดิมมาเป็นชื่อเจ้าของใหม่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในกรณีที่ต้องการซื้อ-ขายรถยนต์ การส่งต่อรถยนต์ เช่น การส่งต่อรถยนต์ให้คนในครอบครัว บุคคลใกล้ชิด หรืออื่น ๆ  การดำเนินการมีความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะการดำเนินคดีในทางกฎหมาย กรณีที่ขายรถยนต์ให้กับเจ้าของใหม่หรือมีการส่งต่อรถยนต์เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ได้มีการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิด หรือเกี่ยวข้องกับการใช้งานในเชิงที่ผิดกฎหมาย คนที่ถูกดำเนินคดีคือตัวเจ้าของรถเอง

ดังนั้นไม่ว่าคุณจะตัดสินใจซื้อ-ขาย หรือส่งต่อรถยนต์ให้ใครก็ตาม เมื่อตกลงรายละเอียดกันเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้โอนรถเป็นชื่อของผู้ซื้อให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต 

โอนกรรมสิทธิ์รถมีกี่แบบ โอนยังไงได้บ้าง?

การโอนรถยนต์หรือโอนกรรมสิทธิ์ สามารถเลือกได้ 2 แบบ คือ โอนตรงและโอนลอย โดยมีขั้นตอนการดำเนินการที่แตกต่างกันดังนี้

1. การโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของแบบ “โอนตรง”

การโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของแบบโอนตรง สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการที่เจ้าของเก่าและเจ้าของใหม่เดินทางไปติดต่อทำเรื่องขอโอนรถกับนายทะเบียนที่สำนักงานขนส่ง ประเด็นสำคัญคือรถยนต์คันที่ต้องการโอนเปลี่ยนเจ้าของจะต้องมีสภาพตรงกับข้อมูลในใบคู่มือจดทะเบียนรถ

กรณีที่ข้อมูลไม่ตรง จำเป็นจะต้องกลับไปทำการแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมให้ตรงกับสภาพจริงก่อน เว้นแต่กรณีที่ต้องการโอนเปลี่ยนเจ้าของจากผู้ให้เช่าไปยังผู้เช่าซื้อ เป็นผู้ครอบครองรถตามรายการจดทะเบียน พูดง่าย ๆ ว่าไม่จำเป็นต้องนำรถไปตรวจสภาพก่อน

2. การโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของแบบ “โอนลอย”

การโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ โอนลอย เป็นการโอนรถโดยเจ้าของเดิม (ผู้ขายรถ) ทำการมอบเอกสารให้กับเจ้าของคนใหม่ (ผู้ซื้อ) ไปดำเนินการเองหลังจากจบการซื้อ-ขาย  ผู้ขายจะต้องทำการเซ็นชื่อกำกับไว้ที่เอกสารให้ครบ การโอนลอยรถถือเป็นการโอนรถที่ได้รับ

ความนิยมมากโดยเฉพาะในแวดวงเต็นท์รถมือสอง เนื่องจากช่วยให้ประหยัดเวลาในการดำเนินการของผู้ขาย 

แต่เหรียญมีสองด้านเสมอ เพราะการโอนแบบนี้มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน เพราะถ้าหากรถยนต์คันดังกล่าวไปทำเรื่องผิดกฎหมาย ในขณะที่ยังไม่ได้ดำเนินการโอนรถให้เสร็จเรียบร้อย เจ้าของเดิมจะต้องเป็นผู้รับผิดทางกฎหมายนั่นเอง

การโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง?

อย่างที่บอกไปแล้วว่าการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ สามารถโอนให้กับบุคคลได้หลากหลาย ดังนั้นเอกสารที่จำเป็นต้องใช้จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

เอกสารโอนรถแบบโอนตรง

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือสมุดทะเบียนรถยนต์ฉบับจริง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถยนต์คนเก่า และเจ้าของรถยนต์คนใหม่
  • สัญญาการซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
  • แบบคำขอโอนและรับโอน ที่มีลายมือชื่อผู้โอนเจ้าของรถเก่า และผู้รับโอนเจ้าของรถใหม่เรียบร้อยแล้ว

เอกสารการโอนรถให้ญาติหรือผู้รับมรดก

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสมุดทะเบียนรถยนต์ฉบับจริง
  • แบบคำขอโอนและรับโอน ที่มีลายมือชื่อผู้โอนเจ้าของรถเก่า และผู้รับโอนเจ้าของรถใหม่เรียบร้อยแล้ว
  • สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
  • สำเนาใบมรณบัตรเจ้าของรถ (กรณีเจ้าของเดิมเสียชีวิต) และคำสั่งศาลหรือพินัยกรรม พร้อมสำเนาที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ
  • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ (ผู้ขายที่เป็นเจ้าของเดิม) และของผู้รับมอบอำนาจ (ผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของใหม่)

เอกสารโอนรถแบบโอนลอย

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือสมุดทะเบียนรถยนต์ฉบับจริง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถยนต์คนเก่า และเจ้าของรถยนต์คนใหม่
  • สัญญาการซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
  • แบบคำขอโอนและรับโอน ที่มีลายมือชื่อผู้โอนเจ้าของรถเก่า และผู้รับโอนเจ้าของรถใหม่เรียบร้อยแล้ว
  • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ (ผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของใหม่)

ขั้นตอนการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ ใช้เวลานานมั้ย?

สำหรับการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของมีขั้นตอนการดำเนินการที่ง่ายมาก แถมยังใช้เวลาไม่นานอีกด้วย สามารถเลือกไปดำเนินการได้ที่สำนักงานขนส่ง ดังนี้

  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร หากรถยนต์คันที่ต้องการโอนเปลี่ยนเจ้าของมีทะเบียนที่กรุงเทพฯ หรืออยู่ที่กรุงเทพฯ สามารถเข้าไปดำเนินการที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครได้เลย
  • สำนักงานขนส่งจังหวัด หากตัวเจ้าของรถและรถยนต์อยู่ต่างจังหวัดที่ไม่ใช่กรุงเทพฯ สามารถเลือกเข้าไปดำเนินการยังสำนักงานขนส่งประจำจังหวัดที่อาศัยได้เช่นกัน
  • สำนักงานขนส่งจังหวัด ที่มีระบุในคู่มือจดทะเบียนรถ หากมีความสะดวกในการเดินทาง สามารถเลือกดำเนินการที่สำนักงานขนส่งที่ระบุไว้ในใบคู่มือหรือที่มีการขอแจ้งใช้รถไว้ก็ได้ด้วยเช่นกัน
ขั้นตอนโอนกรรมสิทธิ์รถ
  1. เดินทางไปยังสำนักงานขนส่งที่สะดวก พร้อมกับนำรถยนต์ที่ต้องการโอนเปลี่ยนเจ้าของ เข้ารับการตรวจสภาพรถได้ที่สถานตรวจสภาพรถ หรืออาคารตรวจสภาพรถ ที่สำนักงานขนส่งนั้น ๆ
  2. ติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการยื่นเรื่องโอนเปลี่ยนเจ้าของรถยนต์ พร้อมกับแนบเอกสารประกอบ และชำระค่าธรรมเนียม
  3. หลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอรับเอกสารใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน พร้อมกับรับใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายการเสียภาษี และแผ่นป้ายทะเบียนรถ 

สำหรับระยะเวลาในการรอเล่มตามปกติแล้วจะใช้เวลา 15 วันทำการ หลังจากที่ทำการยื่นเรื่องโอนรถเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะต้องทำการแจ้งนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่โอน หากไม่ดำเนินการให้เสร็จสิ้นจะมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท

ขั้นตอนการโอนประกันรถยนต์

หลังจากดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมโอนประกันรถยนต์เพื่อให้รถคันที่เปลี่ยนเจ้าของได้รับความคุ้มครองดังเดิม ซึ่งมีรูปแบบการโอน 2 กรณีคือ การโอนประกันรถยนต์แบบไม่ระบุผู้ขับขี่ และการโอนประกันรถยนต์แบบระบุผู้ขับขี่ โดยมีเอกสารที่จำเป็นต้องเตรียม ดังนี้

1. การโอนประกันรถยนต์ที่ไม่ระบุผู้ขับขี่

กรณีประกันรถยนต์ที่เจ้าของรถคนเดิมทำเอาไว้แล้วไม่ได้ระบุชื่อคนขับ ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยชั้นไหนก็ตาม เจ้าของใหม่สามารถใช้กรมธรรม์นั้นต่อได้เลย รวมถึงยังจะได้รับความคุ้มครองจนกว่าประกันจะหมดอายุ แต่ถึงอย่างนั้นควรแจ้งเปลี่ยนกับทางบริษัทประกันให้เรียบร้อย พร้อมกับเตรียมเอกสารดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของเดิม ที่มีการเซ็นยินยอมให้โอนประกันภัยแก่เจ้าของคนใหม่
  • ใบซื้อ-ขายที่เป็นหลักฐานการซื้อ-ขายรถยนต์ เพื่อแจ้งเปลี่ยนชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของใหม่

2. การโอนประกันรถยนต์ที่ระบุผู้ขับขี่

กรณีที่เป็นประกันรถยนต์แบบระบุผู้ขับขี่ จะต้องมีการแจ้งเปลี่ยนชื่อผู้ขับขี่ เพื่อให้บริษัทประกันปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยประกันตามคุณสมบัติของเจ้าของรถคนใหม่ หากไม่ดำเนินการแจ้งเปลี่ยนให้เรียบร้อย เมื่อเกิดอุบัติเหตุเป็นฝ่ายผิด ผู้ที่เป็นเจ้าของกรมธรรม์เดิมจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกเอง ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่ใช่ความผิดของตนทันที

 โดยการโอนประกันรถยนต์รูปแบบนี้ จะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  • เอกสารยินยอมการโอนชื่อผู้รับผลประโยชน์ ที่เจ้าของกรมธรรม์ (ผู้ขาย) จะต้องยื่นขอกับบริษัทประกัน
  • ใบซื้อ-ขายที่เป็นหลักฐานการซื้อ-ขายรถยนต์ เพื่อแจ้งเปลี่ยนชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของใหม่ และขอให้ถอดชื่อเจ้าของเดิมในกรมธรรม์ออก

ทั้งหมดนี้คือรายละเอียดและขั้นตอนการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ ที่เรานำมาบอกต่อคุณอย่างละเอียดยิบ บอกเลยว่าเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังต้องการซื้อ-ขายรถ หรือส่งต่อรถยนต์อย่างแน่นอน

check-credit