เฉลิมชัย รถบ้าน

ที่สุดด้านคุณภาพและบริการ ต้องเฉลิมชัย รถบ้าน
โทร : 096-242-8639 เปิดทำการทุกวัน
110/4 หมู่ 1 ต.หนองยาว อ.เมือง จ.สระบุรี

วิธีขับรถลุยน้ำท่วมหรือน้ำรอการระบายให้ปลอดภัยรอดจากความเสียหาย

วิธีขับรถลุยน้ำท่วมหรือน้ำรอการระบายให้ปลอดภัยรอดจากความเสียหาย

เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการของเมืองไทยแล้ว เมื่อครั้งที่แล้ว ทีมงาน BoxzaRacing ได้แนะนำวิธี ตรวจเช็คความพร้อมของรถ ก่อนออกไปตะลุยฝน ให้เพื่อนๆ ได้ดูได้ชมกันไปแล้ว คราวนี้ทีมงานจะแนะนำ วิธีขับรถลุยน้ำท่วม หรือน้ำรอการระบาย ให้ปลอดภัย เป็นที่รู้กันอยู่ว่า ถ้าวันไหนฝนตกหนักๆ บ้านเราบางพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่ต่ำ อาจจะมีน้ำสะสมค่อนข้างเยอะ ทำให้น้ำระบายไม่ทัน บางทีก็มาขังบนพื้นถนน ถ้าฝนตกหนักมากๆ น้ำขังเหล่านี้ ก็จะมีปริมาณที่สูงขึ้นตามปริมาณของน้ำฝน ทำให้น้ำท่วมถนนได้ น้ำรอการระบาย และเราต้องขับรถผ่านถนนเส้นนั้นพอดี แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ จะขับรถผ่านอย่างไร ไม่ให้รถเกิดความเสียหาย วันนี้ทีมงาน BoxzaRacing จะมาแนะเคล็ดลับดีๆ ให้เพื่อนๆ ได้ลองทำตามดูกัน 

1.อันดับแรกที่เราเห็นน้ำท่วม หรือน้ำขัง เราควรที่จะประเมินสถานะการณ์ของน้ำที่ท่วมขังเสียก่อน โดยสังเกตจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถคันหน้า หรือขอบฟุตบาท ซึ่งรถยนต์เป็นพาหนะที่วิ่งทางบก เพราะฉะนั้น รถแต่ละประเภทจะลุยน้ำที่ระดับความสูงไม่เหมือนกัน อย่าง รถเก๋ง ไม่ควรที่จะลุยน้ำท่วมสูงเกิน 25 เซนติเมตร รถกระบะสายซิ่งทั้งหลาย ไม่ควรลุยน้ำท่วมสูงเกิน 40 เซนติเมตร หรือรถกระบะขับเคลื่อนสี่ล้อ 4WD ไม่ควรลุยน้ำท่วมสูงเกิน 50 เซนติเมตร หากระดับน้ำสูงเกินกว่านี้ เราไม่ควรที่จะขับลุยเข้าไป ควรที่จะจอดรอให้ระดับน้ำลดลงเสียก่อนค่อยขับผ่านไป       

          2.ประเมินสถานะการณ์เรียบร้อยแล้ว ถ้าโอเคงั้นขับฝ่าไป แต่ต้องปิดแอร์ ที่ต้องปิดแอร์เพราะว่าถ้าเปิดแอร์ เมื่อถึงอุณหภูมิที่กำหนด พัดลมไฟฟ้าทำงาน พัดลมแอร์ทำงาน ถ้าระดับน้ำถึงระดับใบพัดลม อันดับแรกใบพัดลมแอร์จะพัดเอาน้ำหรือสิ่งสกปรกที่ลอยมากับน้ำกระเด็นขึ้นเครื่องยนต์ได้ และจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างที่อยู่ในห้องเครื่องช็อตหรือเสียหายได้ อันดับต่อมาอาจจะทำให้ใบพัดลมแอร์เสียหายและหักได้ เรียกว่าได้ไม่คุ้มเสียแน่นอน เพราะฉะนั้น ทนร้อนนิดเดียว ดีกว่าเสียหายเยอะ 

3.ต่อมา…ให้ใช้เกียร์ต่ำ อย่าใช้รอบสูงมาก ถ้าเป็นเกียร์ธรรมดาควรใช้แค่เกียร์ 1 หรือ 2 เท่านั้น ส่วนเกียร์อัตโนมัติ ดึงเกียร์มาในตำแหน่ง L ได้ และเวลาขับ ควรเลี้ยงรอบเครื่องยนต์ไว้ไม่ให้เกิน 1,500-2,000 รอบ/นาที ยิ่งถ้าเป็นเกียร์ ธรรมดา เข้าเกียร์ 1 เสร็จ ปล่อยคลัทช์ให้รถค่อยๆ เดินเบาไหลไปเรื่อยๆ เพราะถ้าเราขับเร็ว อาจจะทำให้น้ำกระเด็นสูง และคลื่นน้ำก็จะแรงไปกระทบสิ่งของทำให้เกิดการเสียหายได้ พอเกิดคลื่นแรกอาจจะไปพัดเอาสิ่งของต่างๆ ข้างทางมาโดนตัวรถเราได้

4.พอเราเริ่มขับรถลุยน้ำ อย่าขับจี้คันหน้ามากเกินไป ควรทิ้งระยะห่างเอาไว้ อย่าขับชิดคันหน้าจนเกินไป เพราะว่าถ้าเกิดคันหน้าเบรกฉุกเฉิน เราอาจจะเบรกไม่ทัน เนื่องจากระบบเบรกของรถเราก็แช่อยู่ในน้ำเช่นกัน อีกข้อหนึ่งก็คือ เวลาเจอรถสวนควรที่จะเบาคันเร่ง เพราะลดอาการคลื่นปะทะแรงๆ อาจจะสร้างความเสียหายให้กับรถเราก็ได้ 

ถ้าเครื่องยนต์ดับขณะที่เรากำลังขับลุยน้ำ อย่าสตาร์ทเครื่องตอนนั้นเลย เพราะจะมีแรงดูดจากเครื่องยนต์และดูดน้ำวนเข้าไปทำลายเครื่องยนต์ของเราได้ ถ้าเครื่องยนต์ดับเราควรที่จะเข็น หรือจอด หรือลาก รถออกไปจากพื้นที่น้ำท่วม แล้วค่อยหาวิธีแก้ไขต่อไป ถ้าใครที่ซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ประกันชั้น 2+ หรือประกันชั้น 3+ เอาไว้คุณจะได้รับความคุ้มครองกรณีน้ำท่วม แนะนำว่ารีบโทรหาบริษัทฯ ประกันของคุณเพื่อแจ้งเหตุ และขอความคุ้มครองได้ทันที และหลังจากที่เราขับรถผ่านพื้นที่น้ำท่วมขัง น้ำรอการระบายแล้ว เราก็มีข้อปฏิบัติดังนี้ 

  1.หลังจากขับผ่านพ้นน้ำท่วมขังออกมาแล้ว อย่าเพิ่งรีบเร่งเครื่อง หรือขับรถเร็วๆ ทันที ให้เราใช้ความเร็วต่ำ และเหยียบเบรก แล้วปล่อย เหยียบแล้วปล่อย เพื่อที่จะไล่น้ำออกจากคาลิเปอร์เบรกและผ้าเบรก อีกทั้งยังเช็คระบบเบรกของเราด้วยว่าทำงานได้ดีอยู่ไหม การเหยียบเบรกแล้วปล่อย เราควรที่จะทำประมาณสัก 50 เมตร แต่ต้องดูรถด้านหลังด้วยนะ

          2.จากที่เราย้ำเบรกเสร็จแล้ว เราควรที่จะขับรถไปอีกประมาณ 20 นาที เพื่อไล่ความชื้นที่ยังคงค้างอยู่ในเครื่องยนต์และรถยนต์ แต่ถ้าจำเป็นต้องจอดรถ หรือถึงที่หมายแล้ว อย่าเพิ่งดับเครื่องยนต์ให้สตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้เสียก่อน เพราะเป็นการไล่ความชื้นของเครื่องยนต์และตัวรถด้วย

3.ต่อมาเราก็มาเช็คความเสียหายของตัวรถ เช็คดูว่ามีอะไรมาเกาะไหม หรือชิ้นส่วนไหนหักหลุดออกไปบ้าง ล้อและยางมีความเสียหายไหมเป็นต้น

  นี่คือ วิธีและขั้นตอนในการปฏิบัติ การขับรถลุยน้ำท่วมและหลังจากที่เราลุยน้ำท่วม น้ำรอการระบายเรียบร้อยแล้ว เราควรที่จะทำอะไรบ้าง ลองเอาไปใช้ดู และอย่าลืมศึกษาเส้นทางที่เราใช้ด้วยล่ะ ว่าเส้นนั้น สภาพถนนเป็นอย่างไร เลี่ยงได้เราก็ควรเลี่ยง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนด้านบนได้เลย

แหล่งอ้างอิง http://car.boxzaracing.com/knowledge/32841

แบ่งปัน

Post navigation

check-credit